วันที่ 12 ม.ค. 64 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบุถึงรายละเอียดมาตรการเยียวยาและดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ โดย ครม. ได้อนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจ ในระยะเร่งด่วนตั้งแต่ ม.ค. ถึง มี.ค. ได้แก่
1.มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วไป
(1.1) มาตรการช่วยเหลือค่าใช้น้ำประปาลดร้อยละ 10 กำหนดระยะเวลา 2 เดือน สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ตามใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาประจำเดือน ก.พ. และ มี.ค. 2564 ประจำเดือน ก.พ. และ มี.ค. 2564(ประเภทที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก 6.76 ล้านรายทั่วประเทศ วงเงิน 395 ล้านบาท)
(1.2) มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า กำหนดระยะเวลา 2 เดือน สำหรับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าประจำเดือน ก.พ. และ มี.ค. 2564 แนวทางการดำเนินงานคือ สำหรับบ้านที่อยุ่อาศัยหากใช้ไฟฟ้ำไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก จำนวน 10.13 ล้านราย มูลค่า 3,650 ล้านบาท หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ก็ให้มีส่วนลดค่าไฟฟ้าตามเงื่อนไขที่กำหนด ปรับขั้นส่วนลดใหม่ จำนวน 11.83 ล้านราย มูลค่า 3,752 ล้านบาท และถ้าเป็นกิจการขนาดเล็ก ฟรี 50 หน่วยแรกทุกราย จำนวน 1.74 ล้านราย มูลค่า 800 ล้านบาท
(1.3) มาตรการช่วยเหลือค่าอินเทอร์เน็ต มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ประสานขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายระบบโทรคมนาคมในการพิจารณากำหนดมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายอินเตอร์เน็ตของครัวเรือนด้วยการ เพิ่มความเร็วอินเตอร์เนต ความแรงของเน็ตบ้านและมือถือ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการเวิร์คฟอร์มโฮม
2.มาตรการด้านสาธารณะสุข
ให้กระทรวงพาณิชย์ประสานกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มเติมให้เพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอลล์ รวมถึงการจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพที่ผ่านการรับรองมาตราฐานจากองค์การอาหารและยาแล้ว รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนได้ด้วย
3.มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ใช้โรงงานของตัวเองเป็นสถานที่ในการกักตัวในพื้นที่โรงงงาน (Factory quarantine) กระทรงมหาดไทยโดยผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละละพื้นที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ
4.การปรับปรุงเงื่อนไขของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขของโครงการเพื่อช่วยลดผลกระทบให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่ประสบปัญหาและมีข้อจำกัดของการเดินทางในช่วงที่ยังมีการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่
5.มาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์
กระทรวงการคลังประสานธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อหารือและพิจารณาเตรียมมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมในเรื่องสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องของธนาคารรัฐ เร่งช่วยเหลือเรื่องหนี้สินและเสิมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการและประชาชนโดยเร็ว
6.มาตรการช่วยเหลือด้านแรงงาน
ให้กระทรวงแรงงานติดตามและเร่งรัดดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด รวมทั้งปรับระบบประกันสังคม เช่น ลดหย่อนเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตน เยียวยาผู้ว่างงาน ให้ผู้ประกันตนได้เข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อน รวมถึงการดูแลแรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคมด้วย
7.มาตราการโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่
เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ โดยจะมีการเปิดลงทะเบียนเฟสใหม่อีก 1 ล้านสิทธ์ ประมาณปลายเดือนมกราคมนี้
8.มาตราการแจกเงินผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการระบาดโควิด 19 รอบ 2
ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม โดยกำหรดวงเงินช่วยเหลือ เดือนละ 3,500 บาท นาน 2 เดือน โดยเสนอให้ครม.พิจารณาในวันที่ 19มกราคม 2564 นี้้
9.มาตราการขยายเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากปีที่ผ่านมา
โดยลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% โดยมอบ หมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยเร่งเสนออนุมัติกับ ครม. ต่อไป