ผู้สื่อข่าวท้องถิน รายงานระบุว่า มีการพบเสือคูการ์ สีขาวครั้งแรกของโลก ในวงการสำรวจสัตว์ป่าถึงกับฮือฮากับการค้นพบครั้งนี้เป็นอย่างมาก การพบครั้งนี้โดยกล้องดักถ่ายสัตว์ถ่ายเอาไว้ได้ที่ ที่ป่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบราซิล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุเอาไว้ถึงความหายากว่า “เราอาจจะไม่ได้เห็นคูการ์สีขาวอีกเลยในช่วงชีวิตนี้”

รายงานระบุว่า เสือพูม่า (คูการ์ หรือ สิงโตภูเขา) Puma concolor สีขาวที่มีภาวะด่าง (Leucism) ถูกพบเป็นครั้งแรกในปี 2013 โดยกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติ Serra dos Orgaos National Park ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล โดยภาวะด่างทำให้เกือบทั้งตัวของมันเป็นสีขาว

ภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมสี อย่างภาวะเผือก และภาวะด่างนั้นพบได้บ่อยครั้งในแมวป่า แต่ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดภาวะนี้ไม่เคยพบเห็นในเสือคูการ์มาก่อน เสือคูการ์ หรือที่รู้จักกันในชื่ออื่นๆอย่าง พูมา มีถื่นอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนักล่าที่กระจายพันธุ์กว้างที่สุด
ภาวะด่าง (Leuism )คือลักษณะพิเศษทางภาวะพันธุกรรม เป็นสาเหตุให้สีซีดลง คล้ายกับภาวะที่มีเม็ดสีดำมากเกินไป (Melanism) เช่นเดียวกับเสือดำ แต่ไม่ใช่ภาวะเผือก (Albinism)โดยยังมีเม็ดสีปกติในตาและในหนัง
อย่างเช่นภาวะที่มีเม็ดสีดำมากเกินไป (Melanism) นั้นถูกพบใน 14 จาก 40 สายพันธุ์แมวป่า แต่ก็ยังไม่เคยมีการบันทึกการพบเสือคูการ์ หรือพูม่าสีดำ ไม่ว่าจะเป็นในสวนสัตว์ หรือในธรรมชาติก็ตาม และภาวะด่าง (Albinism) นั้นก็เคยพบในเสือคูการ์เพียง 2 ครั้ง และนอกจากเสือคูการ์สีขาวภาวะด่างจากบราซิลตัวนี้ ก็เคยมีการบันทึกภาพเพียงตัวเดียว


“มันแสดงให้เห็นความพิเศษอย่างมาก เราอาจจะไม่ได้เห็นคูการ์สีขาวตัวอื่นอีกเลยในช่วงชีวิตนี้” Luke Hunter ผู้บริการจาก Wildlife Conservation Society’s Big Cat Program กล่าว
โดยปกติแล้วคูการ์มีสีน้ำตาลและเทา แต่ก็ไม่เป็นที่ทราบชัดว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงในพันธุกรรมสีถึงเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากในสายพันธุ์นี้
ภายหลังภาพนี้ถูกถ่ายได้ นักวิจัยพยายามจับเจ้าเสือด่างเพื่อวิเคราะห์พันธุกรรม แต่ก็ไม่เคยได้เห็นมันอีกเลย อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นเรื่องโชคดี ของเราที่ได้เห็น ยังมีสัตว์ลิ่งต่าง ๆ อีกมากมายที่เรา ไม่เคยเห็น หากมีการค้นพบอะไรใหม่ ๆ ทีมานเรา จะไม่พลาดที่เอามานำเสนอให้ทุกท่าน แน่นอน