ไม่เกิน 7 ปี ประเทศไทยเรานี้ จะมี ยาน ไปโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ ได้จริงหรือ?

วันนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับกรณีที่ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ได้ออก มากล่าวไว้ว่า ประเทศไทย ในอีกไม่เกิน 7 ปี จะสามารถ จะส่งยาน ขึ้นไป โคจร รอบดวงจันทร์ได้ ทำให้หลายๆคนคงมีความ สงสัย อยู่บ้าง วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกันครับ

อันดับแรก ที่ต้องทำความเข้าใจคือ ยาน ที่จะไปโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ หากเราเคยเห็นสารคดี ที่นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศชาวสหรัฐอเมริกา ก้าวลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรกนั้น ต้องบอกว่า ไม่ใช่แบบนั้นครับ ไม่ใช่ยานอวกาศ พี่จะพาคนขึ้นไป ทำกิจกรรมต่างๆมากมายบนดวงจันทร์ แล้วมันเป็นอย่างไรหรือ ยานที่จะไปโคจรรอบดวงจันทร์ และที่สำคัญคือ จะไปโคจรทำไม?

ก่อนที่เรานั้น จะได้ทราบว่า ประเทศไทย สามารถส่งยานขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ ในเวลา 7 ปีนั้น เป็นไปได้หรือไม่ จะขอพูดเรื่อง ทำไมเราต้องส่งขึ้นไป ก่อนนะครับ หากจะตอบแบบหล่อๆแล้วก็คือ ขึ้นไปสำรวจสิ่งต่างๆ เพื่อเรามวลมนุษยชาติทั้งหลาย ซึ่งมันก็เป็นคำตอบแบบ เชิงนามธรรมไปสักหน่อย หากจะนำเงินภาษีของเรา ไปใช้ในโครงการเกี่ยวกับอวกาศแล้ว รัฐบาลเอง ควรวางนโยบาย และเป้าหมาย โดยมีการศึกษา ว่าประเทศเรา จะได้ประโยชน์อะไรกับโครงการนี้

ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง ที่น่าสนใจ เอาไว้เป็นกรณีศึกษาได้ อย่างในกรณีนี้เกิดขึ้นที่ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศตะวันออกกลาง ทีเรื่องการการเงินไม่ต้องพูดถึงเลย ได้เข้ามา ให้ความสนใจ กับกิจกรรม ทางอวกาศ โดยได้บอกเจตนารมณ์ของตัวเองไว้ว่า ในครั้งหนึ่ง ชนชาวอาหรับ เคยได้เป็นผู้นำ ในด้านวิทยาการของโลก มาในวันนี้ ทั่วโลกได้ก้าวเข้าไปสู่ยุคแห่งการสำรวจอวกาศ พวกเขาจะทำให้ชาวอาหรับ เป็นผู้นำในด้านวิทยาการนี้เช่นกัน อีกประเทศหนึ่ง คือ ประเทศอินเดีย อินเดียเองนั้น มีประชากร ที่ยังมีฐานะยากจน เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ประเทศอินเดียนั้น มีการสนับสนุนกิจกรรมทางอวกาศ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า อินเดีย จะมีการผลิตและคิดค้นเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางอวกาศเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านการคิดค้น รวมถึง ทางด้านการผลิตด้วย 

แล้วประเทศไทยล่ะ ประเทศเราไม่มี ผู้รับผิดชอบด้านอวกาศโดยตรง แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหน่วยงาน ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลา 10 ปี  คือ NARIT หรือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่มีบทบาทสำคัญ และพาวงการดาราศาสตร์ของประเทศไทย ขึ้นมามีบทบาทในเวทีโลก โดยทางสถาบัน ไม่มีการเข้าร่วมในโครงการ ดาราศาสตร์ต่างๆ อยู่เป็นประจำและยังมีการสร้างจานรับสัญญาณจากอวกาศอีกด้วย

ไม่ได้มีเพียงแค่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเท่านั้น ยังมีอีกหลายหน่วยงาน ที่คอยดูแลด้าน กิจกรรมทางอวกาศ นั่นก็คือ GISTDA และยังมี สวทช. ไม่มีการร่วมมือ ทำกิจกรรมทางอวกาศ กลับรักหลายประเทศ อยู่หลายโครงการ JAXA ซึ่งเป็นโครงการที่ สนับสนุน ให้ความรู้ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ อยู่บ่อยครั้ง

สำหรับ โครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ ยังคงการข้างต้นที่มีความต้องการไปดวงจันทร์นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัย ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคสังคม ประชาชน ก็ต้องมีความเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกัน

ในประเทศไทย มีโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย Thai Space consortium เป็นโครงการที่สร้างพื้นฐานในการประกอบดาวเทียมในไทย แต่โครงการนี้ ถือว่าเป็น โครงการที่มีความร่วมมือ ของระดับหน่วยงานเท่านั้น ยังไม่ใช่ ความร่วมมือของคนในชาติ และแน่นอนว่า โครงการนี้ ได้สร้างงาน และสร้างคน คุณภาพ ในวงการวิทยาศาสตร์ไทย แต่ก็ยังมีคำถามที่ค้างคาใจ ที่สำคัญคือ ระดับกระทรวงวิทยาศาสตร์ ควรจะต้องทำอะไร?

จริงๆแล้วนั้น การแค่มาพูดออกสื่อ ว่าไทยจะไปดวงจันทร์ ในอีกกี่ปี ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่สิ่งที่คุณต้องทำมากกว่านั้น ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร แล้วสิ่งที่ทำ จะเกิดประโยชน์หรือไม่อย่างไร ยิ่งอยู่ในฐานะของกระทรวง สิ่งที่สำคัญ อันดับแรก ก็คือต้องมีการกำหนด National agenda หรือวาระแห่งชาติ ไม่ใช่กำหนดเพลงแค่ จุดหมายปลายทางเท่านั้น แต่ต้องศึกษา ไม่รู้ถึงเส้นทาง ว่ามันคุ้มค่าหรือไม่ ในการจะลงทุนกับเรื่องนี้

แล้วต่อคำถามที่ว่า ประเทศไทย จะสามารถสร้างยานไปโคจรรอบดวงจันทร์ภายใน 7 ปีได้หรือไม่ ก็ขอตอบตรงนี้เลยว่า ไม่ใช่เรื่องยาก ทำได้อย่างแน่นอน เพราะว่า ในปัจจุบัน มีการแข่งขันด้านอวกาศของทั่วโลก และยังมีโครงการ ที่ส่งยาน ไปลงสำรวจดวงจันทร์ อยู่หลายโครงการอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งแต่ละโครงการ มีมูลค่าตั้งแต่ หลักล้านบาท จนถึงหลักร้อยล้านบาทเท่านั้นเอง

โดยในช่วงอีก 2-3 ปีต่อจากนี้ไป เราจะได้เห็นโครงการที่เกี่ยวกับการส่งยานขึ้นไป โคจรอยู่รอบวงโคจรของดวงจันทร์จนถึงการลงจอดบนพื้นผิวของดวงจันทร์ อีกหลายต่อหลายโครงการ ถึงตอนนั้น เทคโนโลยีต่างๆหรือฐานข้อมูล ก็จะมีมากพอให้เรานำมาใช้อย่างมากมาย บวกกับ งบประมาณ ที่ใช้ในโครงการ เป็นราคาที่รับได้ ไม่แน่นะครับว่าไม่เกิน 7 ปีนี้ เราจะได้เห็น ยานของคนไทย เป็นหนึ่งในยาน ที่รออยู่รอบดวงจันทร์ก็เป็นได้

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG

Tag
112 (1) covid 19 (1) DACA (1) DACA (Deferred Action of Childhood Arrivals) (1) Dreamer (1) hot (3) pornhub (1) pornhub award (1) Pornhub Awards (1) กาละแมร์ (2) ข่าว (2) ข่าวประจำวัน (3) ข่าวโควิด (3) คำค้นหายอดนิยม (1) คำค้นหายอดนิยมในไทยประจำปี 2563 (1) จุดเสี่ยงในการระบาดละลอกใหม่ (1) ชาวเมียนมา (1) น้องชมพู่ (2) บ้านโป่ง (1) ประท้วงฮ่องกง (1) ปารีณา (1) ผู้ติดเชื้อย่านประชาชื่น (1) พม่า (1) พระมหาสมปอง (1) พระมหาไพรวัลย์ (1) พส. (1) ฟาร์มเฟส (1) รพ.แม่สอด (1) ลุงพล (1) วัคซีน covid 19 (1) สวมสิทธิ์ทุเรียนเพื่อนบ้าน (1) สั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลสดและแช่แข็ง (1) หวย (2) หวยดังงวดนี้ (4) อนุทิน (1) อัพเดทโควิด (1) เชียงใหม่ (2) เพิ่มทุเรียนถือเป็นสินค้าที่ต้องเฝ้าระวัง (1) เลขเด็ดงวดนี้ (1) โควิคด-19 (7) โควิด (30) โควิด-19 (3) โควิด19 (18) โควิดประชาชื่น (1) ไทยไปดวงจันทร์ (1)