มาตราการจากกรมการค้าต่างประเทศของไทย
กรมการค้าต่างประเทศของไทยได้ออกมาตราการ เพิ่มสินค้าทุเรียนในบัญชีรายการเป็นสินค้าที่ต้องเฝ้าระวัง และคุมเข้มแล้ว เนื่องจากมีนายทุนหัวใสนำเข้าทุเรียนเพื่อนบ้านแล้วมาสวมสิทธิปลอมเป็นทุเรียนไทยแท้เพื่อส่งออกไปขายที่ประเทศจีน ทำให้เกิดความเป็นห่วงกระทบภาพลักษณ์ของทุเรียนพันธ์ไทยแท้ๆ วันที่ 10 มกราคม 2564 นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้แจ้งให้สำนักงานพาณิชย์และผู้ส่งออกจังหวัดจันทบุรีรีบเร่งตรวจสอบโดยทันที หลังพบว่ามีการลักลอบแอบนำเข้าทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน มาสวมสิทธิว่าเป็นผลผลิตทุเรียนจากสวนทุเรียนในประเทศไทย พร้อมกับใช้วิธีออกเอกสารรับรองถึงแหล่งต้นกำเนิดของทุเรียนเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรไทย เพื่อที่จะส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งแท้จริงแล้วถือว่าทำผิดกฏหมาย เนื่องจากเป็นการปลอมแปลงแหล่งต้นกำเนิดผลผลิตทุเรียน และส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของทุเรียนไทยพันธ์ต่างๆ ที่ได้สะสมชื่อเสียงมานาน
เพิ่มทุเรียนถือเป็นสินค้าที่ต้องเฝ้าระวัง
ขณะนี้ทางกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดำเนินการเพิ่มชื่อในบัญชีรายการไปเรียบร้อยแล้วว่า สินค้าทุเรียนถือเป็นสินค้าที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการพิจารณาจากกรมศุลกากรไทยในการออกหนังสือรับรองฯ จะต้องเข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการลักลอบแอบสวมสิทธิปลอมว่าเป็นทุเรียนที่มาจากประเทศไทย และเพื่อเป็นการป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิดดั้งเดิม สำหรับสินค้าทุเรียนที่ถูกสวมสิทธินั้น ทางกรมการค้าระหว่างประเทศได้กำหนดแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองฯ ทุกประเภทสำหรับสินค้าทุเรียน โดยให้ผู้ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ต้องระบุข้อความยืนยันแหล่งที่มาของทุเรียนในประเทศที่ขอรับหนังสือรับรองฯ เพิ่มเติมลงในแบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิด เพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังเปิดเผยต่ออีกว่า การดำเนินการดังกล่าวของกรมการค้าไทย จะเป็นการดำเนินงานเชิงรุก ในการป้องกันการสวมสิทธิและการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าทุเรียน เพื่อให้ประเทศไทยยังคงได้รับความเชื่อถือและความมั่นใจจากลูกค้านานาประเทศว่า ผลผลิตทุเรียนที่ส่งออกจากประเทศไทยนั้นยืนยันว่าเป็นทุเรียนที่มีแหล่งกำเนิดจากปรัเทศไทยจริง สำหรับข้อมูลรายได้จากการส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งของไทยในปีที่ผ่านมา มีผลผลิตรวม กันมากถึง 631,394,000 กิโลกรัม โดยมีมูลค่าถึง 69,153 ล้านบาท ปริมาณการส่งออกอาจจะลดลง เล็กน้อย คืออยู่ที่ 4.2% แต่มูลค่าเป็นตัวเงินกลับเพิ่มขึ้นมากถึง 42.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วก่อนหน้านั้น โดยผลผลิตทุเรียนของไทยแท้ๆที่ส่งออกไปขายให้กับลูกค้าต่างประเทศนั้น ได้แก่ ประเทศจีนเป็นอันดับแรกที่สั่งซื้อเป็นปริมาณสูงที่สุด ส่วนอันดับที่สองเป็นฮ่องกง และอันดับสามได้แก่ประเทศเวียดนาม
พฤติกรรมผู้บริโภคทุเรียนที่ประเทศจีนจะนิยม หมอนทองสูงสุด และพันธุ์ชะนีได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 ด้วยจุดเด่นสีทองสวย เนื้อเหนียว รสชาติหวานมัน ทุเรียนชะนี หากได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอก็จะ มีโอกาสทำตลาดได้กว้างขึ้นและจะเป็นโอกาสของเกษตรกรไทย ที่จะหันไปปลูกชะนีเพิ่มขึ้น ไม่ได้มุ่งแต่หมอนทองอย่างเดียว คนจีนไม่ใช่รู้จักเพียงทุเรียนหมอนทอง เคยนำก้านยาวเข้าไปขาย แต่ราคาค่อนข้างสูง รสชาติไม่โดดเด่น เทียบกับหมอนทองและชะนีไม่ได้ ตลาดจีนจึงไม่นิยมทุเรียนพันธุ์ก้านยาวของไทย