ต่อต้านรัฐประหาร ชาวเมียนมาจำนวนมากยังคงรวมกลุ่มกัน เพื่อชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐประหารกันอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตำรวจและทหารเมียนมายังคงใช้กำลังรุนแรงเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง ล่าสุดมีรายงานผู้ประท้วงถูกยิงเสียชีวิต 2 ราย ในเมืองมิตจีนา เมืองเอกของรัฐกะฉิ่น ทางตอนเหนือของประเทศ
ตำรวจเมียนมา รวมถึงมีผู้เห็นเหตุการณ์ได้บันทึกภาพขณะที่ตำรวจเมียนมา ในเมืองมัณฑะเลย์ 2 นาย และทหารอีก 1 นาย กำลังรุมทำร้ายชายคนหนึ่งที่นอนนิ่งอยู่บนทางเท้าริมถนน ด้วยไม้กระบองและเตะต่อยชายคนดังกล่าว ก่อนจะลากตัวไปตามถนน
สลายการชุมนุม ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในมัณฑะเลย์ด้วยแก๊สน้ำตา และพยายามไล่ทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม มีรายงานการจับกุมผู้ชุมนุมไปมากกว่า 70 คน
ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อม ขณะที่ “คีน หม่อง ลาต” เจ้าหน้าที่พรรคเอ็นแอลดี ซึ่งเป็นผู้จัดการการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครมุสลิม 2 คนในพรรค เสียชีวิตลงระหว่างการบุกเข้าจับกุมของเจ้าหน้าที่เมียนมา โดยคนใกล้ชิดสงสัยว่าเขาอาจถูกเจ้าหน้าที่ซ้อม เนื่องจากพบร่องรอยฟกช้ำที่ศีรษะ แต่ตำรวจในท้องที่รับผิดชอบไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดแต่อย่างใด
ชัตดาวน์เศรษฐกิจ ในระหว่างที่มีการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารนั้น ห้างร้านโ โรงงาน และธนาคาร ต่างปิดทำการ ตามเสียงเรียกร้องของสหภาพแรงงานอย่างน้อย 9 แห่ง ในเมียนมา ที่ขอให้ร่วมกันชัตดาวน์เศรษฐกิจ เพื่อเป็นการแสดงการต่อต้านกองทัพ
โดยกลุ่มผู้ประท้วงได้เดินถือธงที่ทำจากผ้าถุง และยังมีการห้อยราวแขวนผ้าถุงไว้บนถนนตามจุดต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงการต่อต้านรัฐบาลทหาร เพราะความเชื่อว่าผ้าถุงเป็นของต่ำหากผู้ชายเดินลอดแล้วจะโชคไม่ดี และยังเป็นอุบายในการสกัดการเคลื่อนกำลังของตำรวจและทหารในการเข้าจัดการม็อบให้ช้าลงด้วย
ซึ่งก่อนหน้านี้มีคนงานในหลายภาคอุตสาหกรรมมที่เข้าร่วมการประท้วง ไม่ว่าจะเป็นภาครถไฟ, คนงานในโรงงานส่วนใหญ่ในย่างกุ้ง หรือในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่ถือเป็นรายได้การส่งออกหลักของประเทศ แม้คนงานจำนวนมากจะเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร แต่การหยุดงานก็เป็นเรื่องที่ยาก เพราะจะเป็รชนการขาดรายได้ในการดำรงชีวิตของประชาชาอีกด้วย
ไล่ล่าผู้ประท้วง ในเวลาต่อมา สถานทูตหลายประเทศในเมียนมา เช่น สถานทูตสหรัฐฯ, สถานทูตอังกฤษ รวมไปถึงสำนักงานองค์การสหประชาชาติประจำเมียนมา รายงานสถานการณ์ในช่วงดึกของของวันที่ 8 มี.ค. ว่าเกิดความรุนแรงขึ้นที่ย่านซันซอง กลางเมืองย่างกุ้ง โดยตำรวจใช้อาวุธปืนและอาวุธอื่นๆ บุกค้นบ้านเรือนประชาชน เพื่อไล่ล่าผู้ประท้วงที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ปิดล้อม กระทั่งมีเสียงและประกายไฟคล้ายปืนดังขึ้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นระยะๆ และจากรายงานขององค์การสหประชาชาติประจำเมียนมา ระบุอีกด้วยว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ประท้วงราว 200 คน ที่ไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้ เนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ปิดล้อมเอาไว้
ออกแถลงการณ์เรียกร้อง จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สถานทูตหลายประเทศ อย่าง สหรัฐฯ, อังกฤษ รวมทั้งสำนักงานองค์การสหประชาชาติเมียนมา ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ถอนกำลังจากพื้นที่ดังกล่าวนี้ พร้อมกับปล่อยตัวผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่เพื่อให้กลับบ้านได้อย่างปลอดภัยด้วย
ด้าน “นายอันโตนีโอ กูเตร์เรส” เลขาธิการสหประชาชาติ เผยว่า นอกจากจากนี้ในย่าน ลันมาดอว์ ในเมืองย่างกุ้ง ก็มีเจ้าหน้าที่พังประตูเข้าไปจับกุมผู้ประท้วง ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบชะตากรรมของผู้ประท้วงแต่อย่างใด
เครดิตภาพ : แนวหน้า, ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////