มวลชนกลุ่มรีเด็ม ภายหลังจากที่มวลชนกลุ่มรีเด็ม (REDEM) ที่ประกอบด้วยคณะราษฎร และแนวร่วมพันธมิตร รวมตัวกันเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อเดินทางไปยังบ้านพักของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ บริเวณถนนวิภาวดี จนเกิดการปะทะกันและทำให้ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงความเสียหายของทรัพย์สินทางราชการที่เสียหายหลายรายการ
วางเพลิงเผาทรัพย์ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ลงพื้นที่สน.ดินแดง ตรวจสอบความเสียหายผู้ชุมนุมบุกทำลายทรัพย์สินราชการ พร้อมสั่งรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีข้อหาหนัก ฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ และรุมทำร้ายร่างกายจนท. เผยมีผู้กระทำผิด 8-10 คน
ตรวจสอบความเสียหาย พล.ต.ต.ปิยะ รองผบช.น.เผยถึงเรื่องนี้ว่า ได้มาติดตามผลการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น 3 ส่วน คือ การจับกุมผู้ชุมนุมหน้ากรมทหารราบที่ 1 หลาย 10 ราย รวมถึงการทำลายทรัพย์สินที่ สน.ดินแดง พบว่ามีรถกระบะ, รถจักรยานยนต์ของราชการ รวมถึงตัวอาคารที่ได้รับความเสียหาย
ตรวจสอบผู้กระทำผิด โดยมีรถยนต์ถูกเผาจนใช้การไม่ได้ รวมถึงยังมีทรัพย์สินเอกชนและประชาชนโดยรอบได้รับความเสียหายอีกด้วย หลังจากนี้ก็ต้องตามตัวเจ้าของมาแจ้งความร้องทุกข์ พร้อมประเมินค่าความเสียหาย ซึ่งขณะนี้กำลังตรวจสอบผู้กระทำผิด ที่เข้าข่ายความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ซึ่งสาธารณประโยชน์
รุมทำร้าย ต่อข้อซักถามที่ว่าในกรณีเรื่องที่สารวัตรสายสืบ สน.ดินแดง ถูกทำร้ายนั้น รองผบช.น. กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแยกอีกสำนวน และกำลังตรวจสอบหาผู้กระทำผิด พบว่ามีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ 8-10 คน มีคนทำร้าย 2-3 คน ที่เข้าไปผลักจนล้มและรุมทำร้าย ต้องดูว่าทั้งหมดเกี่ยวข้องกันหรือไม่
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมกับกล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพยานหลักฐานที่พบ เชื่อว่าผู้ที่เข้ามาทำลายทรัพย์สินของ สน.ดินแดง เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่มาจาก ถ.วิภาวดีฯและขอเตือนว่าการชักชวนโฆษณาและผู้ชุมนุมล้วนมีความผิดทั้งหมด เพราะมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ กทม.เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด นอกจากนี้ทราบว่ามีชาวเมียนมาเข้าร่วมการชุมนุมกับคนไทยด้วย ตอนนี้กำลังพิสูจน์ทราบตัวบุคคล ซึ่งในอนาคตหากมาชุมนุมร่วมกับคนไทยอีก ก็ต้องยอมรับสภาพการถูกดำเนินคดีด้วย
เครื่องหมายสัญลักษณ์สื่อมวลชน ต่อข้อซักถามที่ว่ามีนักข่าวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมตัวด้วยนั้น เรื่องนี้ รองผบช.น. เผยว่าเนื่องจากขณะปฏิบัติงานนั้นตำรวจไม่สามารถแยกแยะจากกลุ่มผู้ชุมนุมได้ หากไม่มีการแสดงตัวหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์สื่อมวลชนที่ชัดเจน หากพิสูจน์แล้วว่ามีหลักฐานระบุตัวตนว่าเป็นสื่อมวลชน พนักงานสอบสวนจะสั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าหากไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสื่อจริงก็ต้องทำตามกระบวนการ ไม่ใช่เฉพาะผู้สื่อข่าว แต่รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ได้เข้าไปร่วมชุมนุม
ขอความร่วมมือ นอกจากนี้ รองผบช.น. ยังกล่าวถึงกรณีมีนักข่าวถูกกระสุนยางยิงใส่ด้วยว่า ตำรวจไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครคือสื่อมวลชน, ม็อบ หรือกลุ่มแพทย์อาสา จึงขอความร่วมมือสื่อมวลชนที่เข้าติดตามเหตุการณ์ ให้ลงทะเบียนเพื่อรับปลอกแขนสื่อมวลชน ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ตำรวจนครบาล ซึ่งสัญลักษณ์ปลอกแขนดังกล่าว เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมจะสามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร หากคนกลุ่มนี้ถูกลูกหลง ก็จะได้รับการเยียวยาอย่างแน่นอน
เครดิตภาพ : www.fm91bkk.com, www.newtv.co.th, แนวหน้า, ข่าวสด
///////////////////////////////////////////////////////////////////////