เกรงว่าจะได้รับอันตรายแก่ชีวิต ภายหลังจากที่เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า อานนท์ นำภา ของ นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ที่ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีการโพสต์ภาพข้อความที่เขียนด้วยลายมือระบุ เป็นการเขียนโดย นายอานนท์ ที่อ้างว่าเมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค.64 ได้มีปฏิบัติงานที่ผิดปกติของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ที่พยายามแยกตนออกจากผู้คุมขับคนอื่นในยามวิกาล จนเกรงว่าจะได้รับอันตรายแก่ชีวิต
กรมราชทัณฑ์ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ กรมราชทัณฑ์ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นแล้ว และพร้อมชี้แจงว่า เหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 15 มีนาคม 2564 ถึงเช้าวันที่ 16 มีนาคม 2564 ภายหลังจากที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ได้รับย้ายตัว นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน แกนนำราษฎร และ นายปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ แกนนำกลุ่ม Wevo มาจากเรือนจำพิเศษธนบุรี
เพื่อแยกกักโรค โดยเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจร่างกาย ก่อนนำตัวมาคุมขังพร้อมกับผู้ต้องขังคนอื่นอีก 9 รายในห้องควบคุมผู้ต้องขังภายในแดนแรกรับ เพื่อแยกกักโรคตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกรมราชทัณฑ์
ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเวลาต่อมา นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการ พร้อมด้วยคณะแพทย์และพยาบาลจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้เข้ามาดำเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้ต้องขังภายในห้องดังกล่าว ทั้งสิ้น 16 ราย แต่มีผู้ต้องขังที่ให้ความร่วมมือในการตรวจหาเชื้อเพียง 9 ราย และไม่ประสงค์ให้ความร่วมมือในการตรวจหาเชื้อ 7 ราย คือ นายภาณุพงศ์ หรือ ไมค์, นายจตุภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน, นายปิยรัฐ หรือ โตโต้ และ นายพริษฐ์ หรือ เพนกวิน และนายอานนท์ นำภา พร้อมพวก
แยกกลุ่มผู้ต้องขัง จึงต้องดำเนินการแยกกลุ่มผู้ต้องขังดังกล่าวรวม 7 คน ออกจากผู้ต้องขังที่ยินยอมรับการตรวจเชื้อ เพื่อเป็น การแยกกักกันโรคและสังเกตอาการเพิ่มเติมที่สถานพยาบาล ตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์และกระทรวงสาธารณสุข
ปฏิเสธการย้ายที่คุมขัง นอกจากนี้ผู้ต้องขังทั้ง 7 คนดังกล่าว คือ นายอานนท์ พร้อมพวก ได้ปฏิเสธการย้ายที่คุมขังออกจากห้องกักกันโรคเดิม ไปยังสถานพยาบาลโดยอ้างถึงความปลอดภัย เจ้าหน้าที่จึงมีความจำเป็นต้องแยกกลุ่มผู้ต้องขังอีกกลุ่มที่ให้ความยินยอมในการตรวจหาเชื้อจำนวน 9 รายไปคุมขังที่ห้องกักกันโรคห้องอื่นแทน
ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดตามกฎระเบียบ โดยขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดตามกฎระเบียบ และพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 อย่างเคร่งครัด ไม่สามารถกระทำการใดโดยพลการได้ อีกทั้งการทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นการกระทำความผิดทางอาญา เจ้าหน้าที่ไม่สามารถกระทำได้อยู่แล้ว
นำผู้ต้องขัง โดยในเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ อานนท์ นำภา นั้นได้เผยแพร่จดหมายที่เป็นลายมือและลงชื่อผู้เขียนชัดเจนว่า อานนท์ นำภา โดยมีเนื้อหาระบุว่า มีเจ้าหน้าที่พยายามเข้ามานำผู้ต้องขังในคดีชุมนุมออกไปจากห้องควบคุมตัวถึง 4 รอบด้วยกัน
ยามวิกาล รอบแรกในช่วงเวลาประมาณ 21.30 น. มีเจ้าหน้าที่เรือนจำพยายามนำตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ และ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ ไปควบคุมนอกแดน อ้างเพื่อไปตรวจ COVID-19 แต่เพื่อนผู้ต้องขังไม่ยินยอม เนื่องจากเห็นว่าเป็นยามวิกาล เจ้าหน้าที่จึงได้กลับออกไปจากห้องขัง จากนั้นเข้ามารอบที่ 2 ในเวลา 23.45 น. แต่กลุ่มผู้ต้องขังยืนยันไม่ไป
ไม่นานกลุ่มเจ้าหน้าที่สวมชุดสีน้ำเงินไม่ติดป้ายชื่อ กลับเข้ามารอบที่ 3 ช่วงประมาณเที่ยงคืน พร้อมกระบองด้วยเหตุผลเดิม และรอบสุดท้ายเวลา 02.00 น. โดยมีพฤติการณ์เหมือนรอบที่ 3 คือ กลุ่มชายสวมขุดน้ำเงินไม่ติดป้ายชื่อ เข้ามาพร้อมกระบอง
นายอานนท์เขียนด้วยลายมือ และในวันเดียวกันนั้น ในเฟซบุ๊ก อานนท์ นำภา ก็ได้โพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้องกับจดหมายที่ นายอานนท์เขียนด้วยลายมือ ซึ่งโพสต์ดังกล่าวระบุว่า เขาเขียนคำร้องส่งศาลไปแล้ว จนศาลเรียกไต่สวนพรุ่งนี้ไปแล้ว คนในคอมเมนต์ยังเถียงกันไม่จบว่า ตัวอักษรไม่เหมือน ลายมือไม่ใช่ วันที่ผิด เขียนในเรือนจำเอาออกมาไม่ได้ ไปจนกระทั่งเอกสารนี้ไม่ใช่คำร้อง เหนื่อยหน่ายกับคนไม่อ่านหนังสือ
เครดิตภาพ : เฟซบุ๊ก อานนท์ นำภา, สยามรัฐ, ไทยโพสต์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////