Hospitel จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นได้ จนทำให้ต้องตั้งโรงพยาบาลสนาม และ นำโรงแรมมาเป็นสถานพยาบาลชั่วคราว หรือ Hospitel ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขการันตีว่าได้มาตรฐาน และเพียงพอสำหรับรองรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19
ตรวจและบันทึกอาการผู้ป่วยทุกวัน โดยเรื่องนี้ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เผยว่า ขณะนี้ ได้นำโรงแรมมาเป็นสถานพยาบาลชั่วคราว (Hospitel) ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือรักษาในโรงพยาบาลหลัก 3-5 วันแล้วอาการดี โดยมีการตรวจและบันทึกอาการผู้ป่วยทุกวันผ่านเทเลเมดิซีน หรือไลน์กลุ่ม หากอาการเปลี่ยนแปลงจะย้ายกลับโรงพยาบาลหลักทันที มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน
ช่วยลดแออัดในโรงพยาบาล ซึ่งในขณะนี้มี Hospitel ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 23 แห่ง จำนวน 4,900 เตียง ดูแลผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 2 พันเตียง เตรียมเพิ่มให้ได้ 5-7 พันเตียง ซึ่งจะช่วยลดแออัดในโรงพยาบาล นอกจากนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เตรียมเตียงจากโรงพยาบาลทุกสังกัด รวม 6,525 เตียง ใช้แล้ว 3,700 กว่าเตียง ส่วนหนึ่งสำรองไว้สำหรับผู้ที่มีอาการมาก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
ตรวจประเมินมาตรฐาน สำหรับการขึ้นทะเบียน Hospitel กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะตรวจประเมินมาตรฐาน ทั้งด้านโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ น้ำเสีย ไม่มีผลกระทบต่อชุมชน มีการจัดบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน โดยมีแพทย์ประจำ 1 คน, พยาบาล 1 คนต่อ 20 เตียง, เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล, เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่
ผู้ป่วยโควิด-19 ทุกรายต้องเข้ารับการรักษา พร้อมกับยืนยันว่า การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทุกรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel เพราะมีประสิทธิภาพในการรักษาและการควบคุมโรค
ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคฉุกเฉิน ต่อข้อถามกรณีโรงพยาบาบเอกชนปฏิเสธการรักษาผู้ป่ย หลังตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล และพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ ดังนั้นสถานพยาบาลทุกแห่ง รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนจะต้องให้การดูแลรักษา และดำเนินการให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย
ไม่ให้ผู้ป่วยเดินทางไปเอง นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ออกประกาศให้สถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลและคลินิกให้ดำเนินการดูแลตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนด สำหรับคลินิกก็เช่นกัน ต้องจัดระบบในการตรวจ หากพบติดเชื้อโควิด-19 ก็ต้องจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ไม่ให้ผู้ป่วยเดินทางไปเอง
ผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ พร้อมกับกล่าวต่อว่า หากไม่ดำเนินการตามนี้ จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล โดยมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ รวมทั้งมีความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ โดยก่อนนี้ทราบว่ามีโรงพยาบาลแห่งหนึ่งย่านบางนาไม่ได้ดำเนินการตามนี้ ก็จะถูกดำเนินการลงโทษตามกฎหมายต่อไป
ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล แต่เชื่อว่าเป็นส่วนน้อย เพราะในการทำงานร่วมกันในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการพูดคุยพร้อมนำเตียงมารวมกัน ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง และย้ำว่าผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล พร้อมฝากสถานพยาบาลทุกแห่งให้ดูแลผู้ป่วยตามกฎหมายที่กำหนด
เครดิตภาพ : ไทยรัฐออนไลน์, www.kapook.com
เครดิต : บาคาร่าเครดิตฟรี Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ