เหตุการณ์รัฐประหาร กลายเป็นเรื่องน่าสลดใจจากเหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจในเมียนมา โดยเว็บไซด์ข่าวอิรวดี จากการประท้วงรัฐประหารตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ทำให้เมียนมาเหมือนตกอยู่ในสงครามกลางเมือง รวมถึงประชนถูกเจ้าหน้าที่ปราบปราม และมีทั้งถูกจับกุม, ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่ยิง ซึ่งหนึ่งในผู้เสียชีวิตมีรายชื่อของ นางมาร์ลาร์วิน อายุ 39 ปี คุณแม่ลูกสาม โดยระบุว่าเธอนั้นถูกเจ้าหน้าที่ยิงเข้าที่ต้นขาในวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา และขาอีกข้างของเธอก็หัก และใบหน้ายังมีรอยฟกช้ำหลายจุดด้วยกัน
ผู้สังเกตการณ์ โดยเพื่อนบ้านเล่าถึงเหตุการณ์ที่ นางมาร์ลาร์วิน ถูกยิงด้วยว่า เธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐลากออกมาจากบ้าน แล้วหายไปออกไปจากบ้านทั้งคืน กระทั่งเช้าวันเสาร์ที่ 20 มี.ค. ครอบครัวของ นางมาร์ลาร์วิน ได้รับคำสั่งจากทางการให้ไปรับศพ ซึ่งนางมาร์ลาร์วิน นั้นเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์เท่านั้น แต่ทหารก็เข้ามารุมทำร้าย จนเธอไม่มีทางหนี ทำได้เพียงคุกเข่าขอร้องเท่านั้น
มีส่วนร่วมประท้วง ส่วนเหยื่ออีกรายเป็นเพียงแค่ เด็กนักเรียนมัธยมฯ อัง คัง เฮ็ด อายุ 15 ปี ถูกสังหารที่นครย่างกุ้งเมื่อวันที่20 มี.ค. เพื่อนบ้านเล่าด้วยว่าเด็กหนุ่มเป็นคนกระตือรือร้นมาก มีส่วนร่วมประท้วงมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ กระทั่งคืนเกิดเหตุ ทหารยิงปืนต่อเนื่องกว่า 10 นาทีเข้าไปละแวกบ้านของเด็กหนุ่ม เป็นเหตุให้ อัง คัง เฮ็ด ถูกกระสุนเจาะเข้าที่แก้มทะลุลำคอจนเสียชีวิตในที่สุด
เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุน้อยที่สุด อัง คัง เฮ็ด ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุน้อยที่สุดจากการประท้วงต่อต้านระบบการปกครองของกองทัพเมียนมา
ปล้นสะดมทรัพย์สินของประชาชน ในเวลาต่อมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงบุกปล้นสะดมทรัพย์สินของประชาชนในหลายหมู่บ้านนอกนครย่างกุ้ง รวมมูลค่าเกือบ 20 ล้านจ๊าต หรือกว่า 437,000 บาท ส่วน พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา เดินทางไปยังหมู่เกาะกูกู่ ห่างจากนครย่างกุ้งไปทางใต้ ใกล้กับเส้นทางขนส่งทางเรือที่สำคัญที่สุดในโลก แล้วอธิบายให้เหล่าทหารกับพยาบาลถึงสาเหตุที่ยึดอำนาจ
ประท้วงเชิงอารยะขัดขืน ขณะเดียวกันนี้เจ้าหน้าที่ทูตจากสถานทูตเมียนมา 4 คน ประกาศเข้าร่วมการประท้วงเชิงอารยะขัดขืน (CDM) ทั้งเลขานุการตรี 2 คน จากสถานทูตเมียนมาประจำกรุงปารีส ในฝรั่งเศส ที่ประกาศไม่ขอทำงานให้กับรัฐบาลทหารอีกต่อไป
ไม่ประกาศจุดยืนร่วมกัน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทูตอีก 2 คน จากสถานทูตเมียนมา ทั้งในกรุงโตเกียว ของญี่ปุ่น กับกรุงโรม ของอิตาลี ซึ่งมีกว่า 20 คนแล้วที่ไม่ประกาศจุดยืนร่วมกัน
คืนอำนาจให้กับประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่จากสถานทูตเมียนมาในสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ โดยต่างเรียกร้องให้รัฐบาลทหารยอมรับผลการเลือกตั้ง และคืนอำนาจให้กับประชาชน
ยอดผู้เสียชีวิต ขณะที่สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง ซึ่งเป็นเอ็นจีโอในเมียนมาระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิตรวมนับตั้งแต่เกิดการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้อย่างน้อย 249 ศพ และยังมีผู้ที่ถูกจับกุมตัวไปอีกหลายพันคน
สาบานว่าจะแก้แค้น นอกจากนี้มีชาวเมียนมาจาก 3 หมู่บ้าน จำนวนกว่า 1,500 คน ในแถบเมืองฝายขุ่น ต้องย้ายที่อยู่กันเป็นการด่วน หลังจากที่กลุ่มทหารเมียนมาได้สาบานว่าจะแก้แค้นให้เพื่อนทหารที่เสียชีวิตไป
ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน โดยทางรัฐบาลเมียนมาได้แถลงว่า พวกเขาขาดการติดต่อกับทหารทั้ง 4 นาย ที่เมืองฝายขุน หลังจากมีรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน เป็นเหตุให้ทหารกลุ่มดังกล่าวเสียชีวิตลง ซึ่งเจ้าหน้าที่พบศพในหลุมใกล้กับหมู่บ้าน
ถูกทรมานและซ้อมจนหมดสติ โดยสภาพศพที่พบนั้นถูกมัดมือด้วยเชือกกล้วย พร้อมทั้งพบซากรถของเจ้าหน้าที่ถูกไฟไหม้ใกล้ๆ กับหุบเขาดังกล่าวด้วย หลังจากนั้นมีการจับกุมตัวชาวบ้านเพื่อสอบปากคำในเรื่องที่เกิดขึ้น และชาวบ้านบางส่วนที่ถูกปล่อยตัวหลังจากสอบปากคำแล้วนั้น บอกอีกด้วยว่า พวกเขาถูกทรมานและซ้อมจนหมดสติ นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกด้วยว่าจะมีกองกำลังทหารกว่า 2,000 นาย มาที่หมู่บ้านแห่งนี้ จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องอพยพหนีกันเป็นการด่วน
เครดิตภาพ : ข่าวสด, มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////