สหรัฐประกาศอายัติทรัพย์สิน กระทรวงการคลังของสหรัฐประกาศอายัติทรัพย์สินสหรัฐของ 10 นายทหารเมียนมา ที่พัวพันกับการรัฐประหารในประเทศเมียนมา โดบทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึง 3 บริษัทที่เชื่อมโยงกับกองทัพอีกด้วย
เซ็นรับรองคำสั่งพิเศษ หลังจากที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เซ็นรับรองคำสั่งพิเศษในการอายัติทรัพย์สหรัฐ และไม่ให้ผู้บัญชาการทหารเมียนมาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ทั้งหมด 10 คน สามารถเข้าถึงทรัพย์สินเหล่านี้ภายในประเทศสหรัฐได้ โดยมีจำนวนทรัพย์สินทั้งสิ้น 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เกี่ยวข้องกับการก่อรัฐประหารโดยตรง ซึ่งรายชื่อนายทหารที่ถูกขึ้นบัญชีดำนั้น 8 ใน 10 คน เป็นรายชื่อใหม่ เช่น ประธานาธิบดีมินต์ ส่วนที่ได้รับแต่งตั้งหลังการรัฐประหาร, รัฐมนตรีมหาดไทย โซ ฮตู, รัฐมนตรีกลาโหม เส็ง วิน โดย 6 คน จาก 8 คนเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงและการป้องกันชาติ และยังมีความเกี่ยวข้องกับการก่อรัฐประหารโดยตรง
ครั้งแรกที่ โจ ไบเดน ใช้มาตรการคว่ำบาตร นอกจากนี้ยังมีรายชื่อของ พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำกองทัพและผู้นำการก่อรัฐประหาร และ โซ วิน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และกำลังวางมาตรการควบคุมบริษัทอัญมณี 3 แห่ง ที่อยู่ในการกำกับดูแบของทัพเมียนมา ได้แก่ Myanmar Ruby Enterprise, Myanmar Imperial Jade และ Cancri ( Gems and Jewellery ) ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ โจ ไบเดน ใช้มาตรการคว่ำบาตร นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว
สหรัฐจะวางมาตรการคว่ำบาตรเพิ่ม โดยครั้งนี้ เจเน็ท เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าหากยังปล่อยให้มีการยึดอำนาจ และยังคงก่อความรุนแรงต่อผู้ที่มาประท้วงอย่างสันติ สหรัฐจะวางมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มอย่างแน่นอน ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีสหรัฐ แถลงการณ์ว่า จะมีมาตรการคว่ำบาตรผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารเมียนมา และยังเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาโอนคืนอำนาจไปยังรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งผ่านระบอบประชาธิปไตย์
เรียกร้องให้ประชาชนเลิกชุมนุม ขณะเดียวกันทางด้าน พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ก็มีการแถลงต่อประชาชนเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งสัปดาห์ โดยเรียกร้องให้ประชาชนเลิกชุมนุม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 และประณามผู้ประท้วงที่ไร้ยางอายปลุกปั่นให้ข้าราชการหยุดงานประท้วง พร้อมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่เหล่านี้กลับไปปฏิบัติหน้าที่โดยทันที ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน โดยไม่เห็นแก่อารมณ์ส่วนตัว
ต้องมีมาตรการที่รุนแรงกว่านี้ หลังจากการที่สหรัฐประกาศคว่ำบาตรนั้น กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติ หรือ เอ็นแอลดี ของ นางออง ซาน ซูจี ต่างกล่าวแสดงความยินดี พร้อมกับบอกว่าต้องมีมาตรการที่รุนแรงกว่านี้เพื่อกดดันให้กองทัพพ้นจากอำนาจการบริหารประเทศ และบังคับให้กองทัพยอมรับผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมาด้วย กับการที่พรรคเอ็นแอลดีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
ต้องการให้เรื่องจบเร็วที่สุด พวกเขาต้องการให้เรื่องจบเร็วที่สุด และต้องการลงโทษที่รุนแรง รวมถึงมาตรการอื่นๆ กับการรักษาการประธานาธิบดีและบรรดานายพลต่างๆ ในกองทัพ การรัฐประหารและการควบคุมตัว นางออง ซาน ซูจี พร้อมแกนนำพรรคเอ็นแอลดี รวมถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมืองกว่า 260 คน ทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่สุดในประเทศเมียนมาเลยทีเดียว
จับกุมฝ่ายตรงข้ามกับกองทัพ ขณะเดียวกันกองกำลังความมั่นคงเมียนมาออกปฏิบัติการจับกุมฝ่ายตรงข้ามกับกองทัพอีกระลอกหนึ่ง โดยมีผู้ที่ถูกควบคุมตัวในครั้งนี้หลายคน หนึ่งในนั้นเป็นแพทย์ที่เข้าร่วมการรณรงค์ต่อต้านกองทัพ ด้วยการใช้วิธีอารยะขัดขืน ซึ่งมีประชาชนต่างเดินขบวนเพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้ที่ถูกจับกุมถูกนำตัวไปด้วย
เครดิตภาพ : ประชาชาติธุรกิจ, สยามรัฐ, ข่าวสด, เนชั่นทีวี
//////////////////////////////////////////////