การชุมนุม นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสมาชิกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 ก.พ.64 ที่ผ่านมา จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับนำตัวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้ด้วย
เป็นไปโดยสันติ โดย นายแพทย์ทศพร กล่าวว่า ในวันดังกล่าวมีการใช้ความรุนแรงหลายครั้ง แม้กระทั่งในระหว่างที่ประชาชนทยอยกลับก็ยังมีการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ตนพยายามทำให้การชุมนุมยุติหลายครั้ง เพราะอยากให้การชุมนุมเป็นไปโดยสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง
ไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกกรณี จึงฝากเตือนสติไปยังตำรวจว่า ไม่ควรใช้ความรุนแรงในการจัดการกับประชาชน เพราะประชาชนไปอย่างสันติ หากเจอใครที่พยายามใช้ความรุนแรง ตำรวจที่มีกำลังสามารถเข้ามาควบคุมตัวไปดำเนินคดีได้อยู่แล้ว จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง ตนรวมถึงผู้ชุมนุมไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกกรณี
จุดชนวนความรุนแรง แต่เท่าที่ตนสังเกตมักมีคนที่ขว้างอาวุธเสร็จแล้ววิ่งไปหลบหลังตำรวจ หรือหลังแนวประชาชน เหมือนกระทำเพื่อจุดชนวนความรุนแรง สื่อมวลชนเองก็มีภาพ ตำรวจก็มีภาพเก็บไว้ทำไมถึงไม่จัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้ เหมือนปล่อยเชื้อไว้ให้มีกลุ่มคนที่ก่อความรุนแรง
ผู้บริสุทธิ์ และส่วนมากผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนั้นจะเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่อยู่แนวหน้าคอยคุ้มกันผู้ชุมนุมคนอื่นๆ ไม่ใช่ผู้ที่ใช้ความรุนแรง ขว้างปาอาวุธ ที่ก่อเหตุแล้วไปหลบอยู่แนวหลัง หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นก็ขี่รถขจักรยานยนต์หลบหนี
ถูกทำร้าย นายแพทย์ทศพร กล่าวต่ออีกว่า ซึ่งหนึ่งในผู้บาดเจ็บที่มาร่วมแถลงข่าวในวันนี้ ถือว่าโชคดีที่กระสุนไม่ทะลุเข้ากะโหลก ถือเป็นตัวอย่างของหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ รวมถึงตนเห็นอีกหลายคลิปว่ามีหลายรายที่ถูกทำร้าย ถูกกระทืบ ทุบตีโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังใข้กระสุนยางหรือกระสุนจริงหรือไม่นั้นก็ไม่อาจยืนยันได้
กำลังปรึกษากับฝ่ายกฎหมาย ต่อข้อซักถามที่ว่าจะมีการดำเนินกับเจ้าหน้าที่หรือไม่ นายแพทย์ทศพร กล่าวว่า กำลังปรึกษากับฝ่ายกฏหมายของพรรคเพื่อไทย เพื่อติดตามเรี่องและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนก็ติดตามเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
การชุมนุมควรมีแกนนำ รวมถึงประเด็นการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมานั้นไม่มีแกนนำ นายแพทย์ทศพร กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า การชุมนุมควรมีแกนนำ ควรมีความชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้ ซึ่งหลักการจริงๆ ของการชุมนุม คือ ประชาชนทุกคนต่างมีความคิด อุดมการณ์ของตัวเองอยู่แล้วไม่ได้มาตามที่แกนนำสั่ง
แกนนำ ดังนั้น แกนนำ จึงหมายถึง คนที่จะจัดการทิศทางการชุมนุม เป็นผู้ประสานงาน และมีการ์ดมาป้องกันความปลอดภัยกับผู้ชุมนุม เพื่อไม่ให้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ พอไม่มีคนจัดการตรงนี้ก็ทำให้เกิดความวุ่นวาย จนตนรู้สึกว่าอยู่เฉยไม่ได้แล้ว จนต้องแทรกระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ เพื่อขอเจราราให้ต่างฝ่ายต่ายถอยออกไป ซึ่งบางครั้งก็สำเร็จ แต่บางครั้งก็ไม่สำเร็จจึงนำมาซึ่งการปะทะกันอย่างที่เห็น
เห็นใจสื่อมวลชน นอกจากนี้ นายแพทย์ทศพร ยังเห็นใจสื่อมวลชนที่ไปทำข่าว เพราะรู้สึกว่าเรื่องนี้สามารถทำความเข้าใจกันได้ พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนเปิดใจให้กว้าง และให้เกียรติสื่อในการทำข่าว ขณะที่สื่อเองก็ต้องพยายามนำเสนอข่าวให้ครบทุกด้าน
เครดิตภาพ : โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า
////////////////////////////////////////////////////////////////