ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากศูนย์กักกันแรงงงานต่างด้าว ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากถึง 297 ราย ซึ่งเรื่องนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ยืนยันว่า ไม่ใช่การแพร่ระบาดในระลอกที่ 3 ไม่อยากให้มองที่จำนวนยอดรวมของผู้ติดเชื้อ แต่ให้ดูว่าการกระจายไปอยู่นอกเหนือการควบคุมหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ไม่มีการกระจาย แต่เป็นการติดเชื้อเฉพาะกลุ่มหรือคลัสเตอร์ที่ระบบควบคุมสามารถไปดูแลได้
ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ โดย นายอนุทิน เผยว่า จากตัวเลขที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ถึง 297 รายนั้นส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ตราบใดที่สามารถค้นหาผู้ติดเชื้อได้ และนำตัวเข้ามารักษาถือเป็นการควบคุมโรคที่ปลอดภัยที่สุด โดยคนเหล่านี้เป็นคนในวัยทำงานและมีอายุไม่มาก เมื่อไม่แสดงอาการก็ไม่ต้องให้ยารักษา และเมื่อครบเวลา 10 วันก็จะหายเอง ซึ่งเป็นธรรมดาของโรคโควิด-19
ขณะนี้ได้มีการประสานงานมาจากผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองในการตั้งโรงพยาบาลสนามที่สโมสรตำรวจ เพื่อรองรับผู้ที่ติดเชื้อจากการลักลอบเข้าเมืองให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมและเตรียมการบริหารจัดการอย่างดี ซึ่งทางตำรวจมีแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจดูแลอยู่แล้ว แต่หากมีการร้องขอเรื่องใดมาทางกระทรวงสาธารณสุขก็พร้อมให้การสนับสนุน
ตั้งโรงพยาบาลสนามก็ต้องมีการรักษาระยะห่าง ต่อข้อถามถึงเรื่องโรงพยาบาลสนามที่ตั้งขึ้นที่สโมสรตำรวจ ว่ามีความใกล้ชิดกับชุมชนหรือไม่ เรื่องนี้ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ตอบว่า โรงพยาบาลสนามที่ตั้งอยู่ในสโมสรตำรวจนั้น มีรั้วรอบขอบชิดและบริเวณใกล้เคียงก็ไม่มีชุมชนจึงไม่กังวล และการตั้งโรงพยาบาลสนามก็ต้องมีการรักษาระยะห่างกับชุมชน เช่นเดียวกับการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ต้องเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร
คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก และส่วนใหญ่คนที่เข้ามาในโรงพยาบาลสนาม คือ ผู้ที่ไม่แสดงอาการ ส่วนผู้ติดเชื้อและที่มีอาการก็จะเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลัก เพื่อให้การรักษาตามขั้นตอนทางการแพทย์ ขอให้สบายใจและกรมควบคุมโรคก็ดูแลเรื่องนี้มาตลอด พร้อมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลักสำคัญที่สุด
พัฒนาวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมกับกล่าวถึงกรณีที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) พัฒนาวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตายว่า เป็นการพัฒนาร่วมกับสถาบันการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา เป็นการพัฒนาจากเชื้อตายและใช้ไข่ไก่สด ซึ่งทางองค์การเภสัชกรรมมีโรงงานผลิตวัคซีน จึงมีการนำมาวิจัยและพัฒนาโดยการใช้ทุนขององค์การเภสัชกรรมเอง
30 ล้านโดสต่อปี ซึ่งกว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ได้จะต้องผ่านขั้นตอนตามมาตรฐาน และถ้าทำตรงนี้สำเร็จก็จะมีวัคซีนของประเทศไทย และมีคนไทยเป็นเจ้าของเทคโนโลยี เบื้องต้นสามารถผลิตได้ 30 ล้านโดสต่อปี แต่ในอนาคตกำลังการผลิตอาจจะขยายเพิ่มขึ้นได้อีก
องค์การเภสัชกรรม ขอให้มั่นใจเรื่องวัคซีนนั้นไม่ใช่ประเด็นปัญหา แต่ตอนนี้ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะเปิดประเทศได้ และต้องกระจายวัคซีนไปยังเมืองท่องเที่ยวต่างๆ เรื่องวัคซีนขณะนี้เป็นไปตามแผนและกำหนดการที่ได้วางไว้ ไม่มีอะไรล่าช้า ทุกอย่างสอดคล้องตามสถานการณ์ ในอนาคตวัคซีนขององค์การเภสัชกรรมสำเร็จอาจจะมาเสนอให้ทางภาครัฐได้พิจารณาให้การสนับสนุนต่อไป
เครดิตภาพ : www.infoquest.co.th, ข่าวสด, สยามรัฐ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////