ผู้ประท้วงการรัฐประหาร ถือได้ว่ากองทัพเมียนมาทำทุกวิธีทางเพื่อให้กลุ่มผู้ประท้วงการรัฐประหารในครั้งนี้ต้องจบสิ้น เพราะดูเหมือนว่าทางการเมีวยนมาได้กลับมาตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตอีกครั้ง เพื่อเป็นการปิดกั้นการสื่อสารระหว่างกลุ่มผู้ประท้วง
ปิดการเข้าถึงสัญญาณเทอร์เน็ต ล่าสุด สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ภายในวันนี้หน่วยงานรัฐของเมียนมาจะปิดการเข้าถึงสัญญาณเทอร์เน็ตทั้งหมด รวมทั้งจุดกระจายสัญญาณไวไฟ ที่กลุ่มผู้ประท้วงใช้สื่อสารกับประชาชนในหลายพื้นที่ อย่างในทวาย รายงานว่าไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตแล้ว รวมถึงสำนักข่าวเอกชนแห่งหนึ่งในท่าขี้เหล็กของไทย ได้เผยแพร่ภาพถ่ายคนงานกำลังตัดสายเคเบิลที่เชื่อมสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากชายแดนไทยอีกด้วย
รับสินบนนักธุรกิจ รวมถึงการที่รัฐบาลทหารเมียนมาได้ตั้งข้อหา นางอองซาน ซูจี ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย์ หรือ เอ็นแอลดี เพิ่ม คือ รับสินบนนักธุรกิจ หลังจากที่ นางอองซาน ซูจี ถูกตั้งข้อหาไปแล้วหลายข้อหาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การละเมิดกฎหมายโทรคมนาคม จากการนำเข้าวิทยุสื่อสารวอล์คกี้ ทอล์คกี้ และการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
ติดสินบน นางอองซาน ซูจี เพราะในเวลาต่อมา “มอง เวะ” นายทุนใหญ่และผู้มีอิทธิพลในแวดวงธุรกิจก่อสร้างที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพเมียนมา ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์ ที่ออกอากาศภายใต้สถานีที่ควบคุมโดยกองทัพ พร้อมกับอ้างว่า ตนเคยติดสินบน นางอองซาน ซูจี เป็นจำนวนเงินกว่า 5.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 17 ล้านบาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการขอให้ช่วยสนับสนุนธุรกิจของตน
พยายามดิสเครดิต ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมมองว่า คำกล่าวอ้างของ “มอง เวะ” เป็นการพยายามดิสเครดิต และลดทอนความชอบธรรมของรัฐบาลพลเรือน เพราะก่อนหน้านี้ “มอง เวะ” เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้ายาเสพติด เมื่อปี 2008
เพื่อสนับสนุนองค์กรการกุศล โดยเขาอ้างว่าเคยมอบเงินราว 1 แสนดอลลาร์ให้กับ นางอองซาน ซูจี ในปี 2018 เพื่อสนับสนุนองค์กรการกุศลที่เธอจัดตั้งขึ้นในนามแม่ของเธอ ก่อนที่ในปี 2019 จะให้เงินเธออีก 1.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงในช่วงปี 2020 อีกราว 3 แสนดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่ได้ระบุเหตุผลว่าให้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
ถูกกล่าวหาในคดีทุจริต ถือว่าเป็นครั้งที่ 2 ที่ นางอองซาน ซูจี ถูกกล่าวหาในคดีทุจริต โดยก่อนหน้านี้โฆษกรัฐบาลระบุว่า มุขมนตรีของเขตย่างกุ้งออกมาเปิดเผยว่า ได้ติดสินบน นางอองซาน ซูจี เป็นเงิน 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 18,400,000 บาท และทองคำอีก 11 กิโลกรัม ระหว่างเดือน ธ.ค.2560 ถึงเดือน มี.ค. 2561
ต้องโทษจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี ซึ่งถ้าหาก นางอองซาน ซูจี ถูกตัดสินว่าทำผิดจริงทั้ง 2 ข้อกล่าวหานั้น อาจต้องโทษจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี และอาจถูกตัดสินทางการเมืองได้
ไม่มีมูลความจริง ทางด้าน “คีน มอง ซอ” ทนายความส่วนตัวของ นางอองซาน ซูจี ระบุว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูลความจริงตามที่ฝ่ายสนับสนุนกองทัพกล่าวอ้าง โดยทั้ง นางอองซาน ซูจี รวมถึงอดีตประธานาธิบดีวิน มินต์ ต่างเผชิญข้อกล่าวหาในคดีอาญาแล้วหลายข้อหา
ทุจริตคดีคอร์รัปชั่น รวมถึงข้อหานำเข้าอุปกรณ์วิทยุสื่อสารผิดกฎหมาย โดยการตั้งข้อกล่าวหาในทุจริตคดีคอร์รัปชั่นนั้น ถือว่าร้ายแรงกว่ามาก อีกทั้งยังเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า กองทัพพยายามที่จะกำจัดและจำกัดเธอในพื้นที่ทางการเมืองของประเทศนี้
เครดิตภาพ : สยามรัฐ, ข่าวสด
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////