อินโดนีเซียเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนแล้ว รัฐบาลเลือกใช้มาตราการสวนทางกับประเทศอื่น ๆ โดยจะเริ่มให้วัคซีนกับคนวัยทำงานที่อายุระหว่าง 18-59 ปี ก่อนผู้สูงอายุ
อินโดนีเซียเผย หนุ่มสาวจะได้รับวัคซีนก่อน
ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ได้รับวัคซีนเป็นคนแรกของประเทศในวันนี้ (13 ม.ค.) แต่ตัวรองประธานาธิบดี มารูฟ อามิน ซึ่งอายุ 77 ปี จะยังไม่ได้รับวัคซีน เนื่องอยู่ในเกณฑ์ผู้สูงอายุ
ทำไมเลือกคนวัยทำงานก่อน
สมาชิกคณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์ “ให้วัคซีนคนหนุ่มสาวก่อน” ศาสตราจารย์อามิน โซบันดริโอ มองว่า เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะให้วัคซีนแก่คนวัยทำงานก่อน “เพราะพวกเขาออกจากบ้านและไปไหนมาไหนแล้วก็กลับมาหาครอบครัวตอนค่ำ” ก่อนคนอื่นๆ
“เราจะมุ่งเน้นไปที่คนที่มีแนวโน้มจะนำไวรัสไปแพร่ระบาดได้มากกว่า” เขาอธิบายต่อว่า เป็นจังหวะดีที่สุดที่จะสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” (herd immunity) ในกลุ่มประชากรทั้งหมดของประเทศ
“นี่คือเป้าหมายระยะยาวของเรา อย่างน้อยเราสามารถการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก็จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง”
60-70% ของประชากรโลก ต้องมีภูมิคุ้มกันเพื่อให้เชื้อไม่แพร่ระบาดโดยง่าย แต่ตัวเลขนี้จะต้องเพิ่มขึ้นอีกหากเชื้อตัวที่กลายพันธุ์และน่าเป็นห่วงกว่าจะแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย
ตอนนี้ อินโดนีเซียมีประชากรกว่า 270 ล้านคน มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยข้อมูลจากทางรัฐบาลระบุว่า 80% ของผู้ติดเชื้อนั้นเป็นคนวัยทำงาน
บูดี กูนาดี ซาดิคิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์นี้ช่วยให้ให้เศรษฐกิจกลับมาเดินต่อได้อีกครั้ง และยังสามารถปกป้องกลุ่มคนที่มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อและจะนำไปแพร่เชื้อต่อไป
“เราจะให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ต้องทำงานและพบปะกับผู้คนจำนวนมากก่อน เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตำรวจ ทหาร เแต่ราไม่อยากให้ประชาชนคิดแค่ว่า นี่เป็นเพืยงเหตุผลทางการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของการเร่งปกป้องชีวิตผู้คนก่อน”
แล้วคนสูงวัยล่ะ
รัฐบาลมองอีกว่าจริงๆแล้วการใช้ยุทธศาสตร์นี้ถือเป็นการปกป้องผู้สูงวัย
“การให้ภูมิคุ้มกันสมาชิกในบ้าน ที่ทำงาน นั้นเท่ากับว่าพวกเขาจะไม่นำพาเชื้อไวรัสกลับมาที่บ้าน ซึ่งคนสูงวัยอาศัยอยู่” ดร.ซิตี นาเดีย ทาร์มีซี โฆษกโครงการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข ระบุ
ส่วนใหญ่คนสูงวัยในอินโดนีเซียอยู่ในครอบครัวใหญ่ เลยหมายความว่าเป็นไปได้น้อยมากที่จะให้คนสูงวัยโดนกักตัวอยู่คนเดียว
“นี่คือข้อดีอีกประการของการทำเช่นนี้ การให้วัคซีนคนอายุ 18-59 ปี นั้นเท่ากับเรากำลังให้การป้องกันคนสูงวัยที่พวกเขาอาศัยอยู่อีกด้วย”
ยังไม่มีหลักฐานที่จะฟันธงเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต รีด เป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้านวัคซีนและภูมิคุ้มกัน (JCVI) ให้คำแนะนำไปที่ทางการสหราชอาณาจักรว่า ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่จะฟันธงเรื่องนี้ แต่ที่สหราชอาณาจักรเลือกไม่ให้วัคซีนคนหนุ่มสาวก่อน เพราะว่าคนเหล่านี้ไม่มีอาการหนักมากตอนติดเชื้อ แถมตอนนี้ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่าวัคซีนช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อได้ดีแค่ไหน
เขาบอกอีกว่า วิธีที่อินโดนีเซียเลือกต้องใช้วัคซีนจำนวนมากในการฉีดให้กับประชาชน ต้องฉีดอย่างน้อย 50% กว่าจะหยุดการเสียชีวิต หรือการต้องนำคนสูงอายุส่งโรงพยาบาลได้
อีกหนึ่งเหตุผลที่อินโดนีเซียเลือกจะทำตามมาตราการนี้นั่นเพราะวัคซีนที่ใช้ ยังไม่เคยนำไปทดสอบในหมู่คนสูงอายุ ประเทศ อินโดนีเซียใช้วัคซีน “โคโรนาแวค” (CoronaVac) ผลิตจากบริษัท “ซิโนแวค” ของจีน ซึ่งทางประดทศอินโดนีเซียบอกว่ามีประสิทธิภาพคิดเป็น 65.3%
และ ตัวเลขล่าสุดจากบราซิลได้ระบุว่า มีประสิทธิภาพเพียง 50.4% ในการทดลองจากคลินิก
โฆษกโครงการฉีดวัคซีน ของกระทรวงสาธารณสุขประเทศอินโดนีเซีย ได้บอกว่า แม้ว่าวัคซีนโดนทดสอบให้กับคนสูงวัย แต่ทางภาครัฐก็มีแนวโน้มที่จะเลือกฉีดวัคซีนคนวัยทำงานก่อนอยู่ดี