เงื่อนไขการแจกเงินของมาตรการรัฐ โครงการ “เราชนะ”

เงื่อนไขการแจกเงินของมาตรการรัฐ โครงการ "เราชนะ"

รัฐบาลได้ออกมาตราการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบ 2 ที่คนไทยทั้งประเทศได้รับผลระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะภาวะปากท้องของประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจที่กำลังจะกลัมมาดีขึ้น แต่ก็ต้องทรุดลงแบบกระทันหันอีกครั้ง โดยส่วนวิธีการขอรับการเยียวยาจากทสงรัฐบาลจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด  

วันที่ 12 มกราคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากการแพร่ระบาดโควิด หนึ่งในมาตราการที่แถลงร่วมกันคือ มาตรการเยียวยา 3,500 บาท ภายใต้ระยะเวลา 2 เดือน ภายใต้ชื่อโครงการใหม่ว่า “เราชนะ” หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบรอบใหม่ โดยมีการเปลี่ยนชื่อโครงการและปรับปรุงรายละเอียดแพ็กเกจมาตราการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับงบประมาณมากขึ้น เช่นโครงการเราไม่ทิ้งกัน ในการระบาดรอบแรก แจกผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ 15 ล้านราย แต่ในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า โครงการเราชนะ เป้าหมาย 30 ล้านราย 

ผู้ที่จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในโครงการ “เราชนะ” คือ

  • ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 11 ล้านคน,
  • ข้าราชการและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ล้านคน และกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง ซึ่งขณะนีนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติ โดยอาจจะประเมินจากฐานเงินเดือนและบัญชีเงินฝากของผู้ที่มีรายได้สูง
  • ส่วนผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน จะได้เข้าร่วมมาตรการอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเข้ามาลงทะเบียนขณะที่ผู้ที่เคยเข้าร่วมมาตรการของรัฐซึ่งมีแอปเป่าตั้งอยู่แล้ว เช่น โครงการคนละครึ่ง จำนวน 15.3 ล้านคน คลังจะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณา ถ้ามีรายได้เกินเงื่อนไขที่กำหนดจะถูกตัดสิทธิ ส่วนผู้ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินอัตโนมัติ ซึ่งต้องรอรับเงินผ่านแอปเป่าตัง โดยไม่ต้องลงทะเบียน ขณะที่ผู้ผ่านเกณฑ์แต่ไม่ได้มีฐานข้อมูลในแอปเป๋าตังจะได้รับเงินผ่านพร้อมเพย์

ทั้งโครงการ เราไม่ทิ้งกัน และ เราชนะ มีความเหมือนกันอยู่ในแง่ของข้อมูลจำเป็นที่ต้องใช้ลงทะเบียน เช่น หมายเลขบัตรประชาชน และข้อมูลประวัติการทำงานนอกจากนี้ทั้ง2โครงการเน้นช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจ่ายผ่านแอพพลิเคชัน เป๋าตังค์ แต่ทั้ง2โครงการก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย โดย“เราไม่ทิ้งกัน”รองรับกลุ่มอาชีพแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ที่ไม่อยู่ใน

ระบบประกันสังคม  ส่วน “เราชนะ” รองรับกลุ่มอาชีพ แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ และเกษตกร รวมถึงรองรับผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน จะได้เข้าร่วมมาตรการอัตโนมัติโดยไม่ต้องเข้ามาลงทะเบียน 

จะเห็นว่าโครงการ “เราชนะ” ครอบคลุมกลุมเป้าหมายได้มากกว่า

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG

Tag
112 (1) covid 19 (1) DACA (1) DACA (Deferred Action of Childhood Arrivals) (1) Dreamer (1) hot (3) pornhub (1) pornhub award (1) Pornhub Awards (1) กาละแมร์ (2) ข่าว (2) ข่าวประจำวัน (3) ข่าวโควิด (3) คำค้นหายอดนิยม (1) คำค้นหายอดนิยมในไทยประจำปี 2563 (1) จุดเสี่ยงในการระบาดละลอกใหม่ (1) ชาวเมียนมา (1) น้องชมพู่ (2) บ้านโป่ง (1) ประท้วงฮ่องกง (1) ปารีณา (1) ผู้ติดเชื้อย่านประชาชื่น (1) พม่า (1) พระมหาสมปอง (1) พระมหาไพรวัลย์ (1) พส. (1) ฟาร์มเฟส (1) รพ.แม่สอด (1) ลุงพล (1) วัคซีน covid 19 (1) สวมสิทธิ์ทุเรียนเพื่อนบ้าน (1) สั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลสดและแช่แข็ง (1) หวย (2) หวยดังงวดนี้ (4) อนุทิน (1) อัพเดทโควิด (1) เชียงใหม่ (2) เพิ่มทุเรียนถือเป็นสินค้าที่ต้องเฝ้าระวัง (1) เลขเด็ดงวดนี้ (1) โควิคด-19 (7) โควิด (30) โควิด-19 (3) โควิด19 (18) โควิดประชาชื่น (1) ไทยไปดวงจันทร์ (1)