ชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี น.ส. ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, นายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ และ น.ส.เบญจา อะปัน แกนนำผู้ชุมนุม พร้อมพวกรวม 13 คน เดินทางมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารกรุงเทพใต้ เพื่อรายงานตัวตามที่อัยการนัดฟังคำสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี ซึ่งถูกแจ้งข้อหาในความผิดตาม ป.อาญา ม.112 และยุยงปลุกปั่นฯ ม.116 และข้อหาอื่นๆ
มาด้วยความบริสุทธิ์ใจ น.ส.ภัสราวลี หรือ มายด์ เผยความรู้สึกว่า วันนี้มารอฟังคำสั่งอัยการ ส่วนตัวเตรียมพร้อม เข้มแข็งจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่เติมกำลังใจตัวเองได้อย่างดี สู้ต่อไม่ถอย ซึ่งพ่อกับแม่ก็ให้กำลังใจ วันนี้ทุกคนในคดีจะมากันครบ เพราะทุกคนมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ มั่นใจในสิ่งที่ทำ กล้าหาญ กำลังใจดีเข้มแข็ง พี่น้องประชาชนส่งพลังให้ตนและทุกคน
จัดกิจกรรมทางการเมืองตามแนวทางเดิม พร้อมกับกล่าวต่อว่า แม้ว่าอัยการจะให้เลื่อนเข้ารับฟังความเห็นส่งฟ้อง แต่ระหว่างนี้จะพยายามหาหลักฐานมาต่อสู้ พร้อมยืนยันว่าจะจัดกิจกรรมทางการเมืองตามแนวทางเดิม เพราะเป็นการแสดงออกตามหลักสิทธิเสรีภาพ ไม่กังวลว่าจะถูกตำรวจแจ้งข้อหาดำเนินคดีเพิ่มเติมหรือไม่ จากการร่วมกิจกรรมชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 24 มี.ค.
แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ส่วนทางด้าน น.ส.เบนจา อะปัญ แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวต่อว่า หากไม่ได้รับการประกันตัวก็จะให้มวลชนเดินหน้าต่อสู้กันต่อไป ตนเองก็จะสู้ต่อไปเพียงแค่เปลี่ยนสถานที่ สำหรับการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา พยายามจัดการชุมนุมให้มีความปลอดภัยกับผู้ชุมนุมมากที่สุด
ยกเลิกการส่งฟ้อง รวมถึงให้มวลชนได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรม ส่วนภารกิจที่ติดค้างคือเรื่องเรียน และการต่อสู้ยังเป็นภารกิจสำคัญ ขณะนี้มองว่าควรที่จะมีการยกเลิกการส่งฟ้องไปเลย ซึ่งจะไม่เป็นการค้างคา
แกนนำ ต่อข้อถามที่ว่าการชุมนุมของกลุ่มรีเดม(REDEM) ที่ไม่มีแกนนำส่วนตัวมองอย่างไร น.ส.เบนจา ตอบว่า เป็นการชุมนุมที่ให้คนหลายกลุ่มได้เข้ามาร่วม ซึ่งตนก็ไม่เคยบอกว่าการมีแกนนำหรือไม่มีแกนนำ ดีหรือไม่ดีอย่างไร จะมีความแตกต่างกันในด้านวิธีการ แต่แนวทางการต่อสู้คือเป้าหมายเดียวกัน
เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ ส่วน นายอรรถพล หรือ ครูใหญ่ เผยว่า การเลื่อนส่งฟ้องอัยการอาจไม่ได้มีผลต่อการเคลื่อนไหวหลังจากนี้ เพราะทางกลุ่มจะเดินหน้าเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำและมวลชนกว่า 20 คนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง เนื่องจากมองว่าไม่มีเหตุที่ผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองจะถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจำ
กลุ่มราษฎร ส่วนบรรยากาศที่สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารกรุงเทพใต้นั้น มีผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรเดินทางมารอให้กำลังใจผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดี อาทิ นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา พ่อของ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน และ นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ แม่ของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน รวมถึงมีกลุ่มพระสงฆ์ 4 รูป ถือป้ายข้อความว่า ขอบิณฑบาตอนาคตของชาติ #ยกเลิก112 แต่ทั้งหมดก็เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย
ชุมนุมหน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ ส่วนกรณีการชุมนุมหน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2563 โดยแกนนำผู้ชุมนุมได้ยื่นเอกสารเรียกร้องต่อเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย รวมถึงมีการอ่านแถลงการณ์ทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน จากนั้นตำรวจได้ดำเนินคดีกับแกนนำ และแนวร่วมรวม 13 คน ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116
เครดิตภาพ : ประชาชาติธุรกิจ, สยามรัฐ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////