เรียกร้องให้ไทยปล่อยตัว แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ไทยปล่อยตัวผู้วิจารณ์อย่างสงบ และลดความตึงเครียดท่ามกลางการประท้วงอย่างต่อเนื่องรอบใหม่ เกือบหนึ่งปีหลังประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ประท้วงหลายร้อยคนรวมทั้งเยาวชน 13 คน ถูกดำเนินคดีอาญา ในขณะที่แกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดียังถูกควบคุมตัวต่อไป ประชาชน 61 คน ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์
ลดแนวทางตอบโต้ที่รุนแรง ขณะที่การประท้วงในประเทศไทยเริ่มเข้มข้นขึ้นอีกครั้ง ในวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม 2564 ทางการต้องลดแนวทางตอบโต้ที่รุนแรงอย่างเร่งด่วน และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุมโดยสงบ รวมทั้งเยาวชน ถูกดำเนินคดีอาญา และหลายคนถูกควบคุมตัวมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์
สิทธิของประชาชน ทางด้าน “เอ็มเมอร์ลีน จิล” รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การใช้วิธีข่มขู่อย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้งของทางการไทย เป็นการโจมตีอย่างชัดเจนต่อสิทธิของประชาชนในการแสดงความเห็น และการประท้วงอย่างสงบ
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เกือบหนึ่งปีหลังจากรัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับการประท้วงอย่างสงบที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ทำให้เกิดสภาพที่น่าหวาดหวั่นอย่างยิ่ง กล่าวคือมีบุคคล 383 คนที่ถูกดำเนินคดีอาญาแบบจงใจใส่ความ รวมทั้งเยาวชน 13 คน เพียงเพราะการชุมนุมและแสดงความเห็น
ไม่ให้ประกันตัวผู้ประท้วงอย่างสงบ พร้อมกับกล่าวต่อว่า เป็นเรื่องน่าตกใจที่ทางการปฏิเสธอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ประกันตัวผู้ประท้วงอย่างสงบที่เป็นแกนนำ พวกเขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 หลังจากถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา เพียงเพราะแสดงความเห็นของตน
ปล่อยตัวผู้ประท้วง ทางการต้องยกเลิกข้อหาที่มีแรงจูงใจทางการเมืองกับผู้ประท้วงอย่างสงบโดยทันที รวมทั้งผู้ประท้วงที่เป็นเยาวชน ต้องมีการปล่อยตัวผู้ประท้วงอย่างสงบ และแกนนำที่ยังถูกควบคุมตัวทุกคน ให้สอบสวนกรณีที่มีการใช้กำลังอย่างไม่จำเป็น และเกินขอบเขตบ่อยครั้ง และประกันว่าจะมีการควบคุมดูแลการประท้วงเหล่านี้ สอดคล้องตามมาตรฐานระหว่างประเทศ
แกนนำผู้ชุมนุม นอกจากนี้ในแถลงการณ์ฉบับนี้ยังระบุอีกว่า แกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งยังมีการตั้งข้อหาเพิ่ม นับแต่ประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาแบบที่จงใจใส่ความ เนื่องจากมีส่วนร่วมในการชุมนุมโดยสงบที่เพิ่มขึ้นอย่างมากตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ข้อหายุยงปลุกปั่น รวมถึงประชาชนกว่า 380 คนที่ถูกควบคุมตัว และถูกดำเนินคดีในข้อหาที่มักใช้เพื่อเอาผิดทางอาญากับการชุมนุมโดยสงบ รวมทั้งข้อหายุยงปลุกปั่น และการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 215 ตามลำดับ) และการละเมิดข้อห้ามของการชุมนุม ตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ
รื้อฟื้นการใช้กฎหมาย นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ทางการประกาศว่าจะรื้อฟื้นการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหานี้ 61 คน ตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พวกเขาอาจได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี
นักกิจกรรมประชาธิปไตย รวมถึงนักกิจกรรมประชาธิปไตย อย่าง นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์, นายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังคงถูกควบคุมตัวในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ จากการเข้าร่วมการชุมนุมสองครั้งในปี 2563 ศาลไม่ให้ประกันตัวพวกเขา นับจากถูกจับกุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์
เครดิตภาพ : www.amnesty.or.th, www.thebangkokinsight.com, ไทยรัฐออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////