ไฟป่า เกิดไฟป่าขึ้นอีกครั้งที่บริเวณภาคเหนือ โดยครั้งนี้เหตุเกิดขึ้นที่ ภูเขาไฟสะเมิง (บ้านท่าศาลา) อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังพร้อมเฮลิคอปเตอร์ดับน้ำกว่า 40 เที่ยวบินกว่าเพลิงจะสงบลงได้
ร่วมกันควบคุมไฟ โดย นายจักรา ดิษยนันท์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าสะเมิง เผยว่า ได้เกิดไฟป่าบนภูเขาบริเวณบ้านศาลา ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าขุนขาน-สะเมิง สบอ.16 ชุดเหยี่ยวไฟ กรมป่าไม้และชุดอาสาดับไฟของหมู่บ้านได้ร่วมกันควบคุมไฟ โดยการดับและทำแนวกันไฟเพื่อสกัดไฟ โดยมี เฮลฃิคอปเตอร์ของ ทส.จำนวน 2 ลำ บินสนับสนุนทิ้งน้ำ สามารถควบคุมไฟได้บางส่วน
ไฟไหม้รุนแรงควบคุมได้ยาก ซึ่งการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความยากเนื่องจากเป็นเขาสูง ทั้งยังมีผาหิน และเป็นป่าไผ่แห้ง ไฟไหม้รุนแรงควบคุมได้ยาก ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เกิดไฟป่านานถึง 3 ปี ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อเพลิง จึงทำให้ไฟป่าลุกลามอย่างรวดเร็ว
แนวกันไฟป้องกันการลุกลามไปพื้นที่อื่น จนต้องเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินอีก 24 นาย รวมเป็น 50 นาย ขึ้นไปทำแนวกันไฟจนสามารถควบคุมไฟป่าให้อยู่ในวงจำกัด แต่ยังมีไฟป่าบางจุดที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าดับได้ เนื่องจากเป็นหน้าผาสูงชัน จึงได้ทำแนวกันไฟป้องกันการลุกลามไปพื้นที่อื่น พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงจนกว่าจะสามารถควบคุมไฟป่าได้ทั้งหมด
เสียหายประมาณ 50 ไร่ ในเวลาต่อช่วงบ่ายวันที่ 30 มี.ค. ได้ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ช่วยในการควบคุมไฟป่า 2 ลำ 40 เที่ยว โดยมีจนท. สถานีไฟป่าขุนขาน-สะเมิง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติขุนขาน เจ้าหน้าที่เหยี่ยวไฟ(กรมป่าไม้) เครือข่ายฯบ้านดงช้างแก้ว บ้านศาลา-ป่ากล้วย จำนวน 26 คนก่อนที่ไฟป่าจะลุกลามไหม้บนภูเขาพื้นที่บ้านศาลา ต.สะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงหัวค่ำ เบื้องต้นคาดว่ามีพื้นที่ป่าได้รับความเสียหายประมาณ 50 ไร่
ค่าคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ สืบเนื่องขจากการเกิดไฟป่านั้น จากข้อมูลภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของวันที่ 30 มี.ค พบว่าในพื้นที่ของภาคเหนือพบค่าคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย ที่พบค่า AQI สูงถึง 247 ตามด้วยที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีค่า AQI อยู่ที่ 113
เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า นอกจากนี้ ยังพบว่าข้อมูลภาพจากดาวเทียมระบบ MODIS เฝ้าติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงพื้นที่เกิดไฟป่าอย่างต่อเนื่อง จากภาพแสดงให้เห็น 17 จังหวัดภาคเหนือ เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในช่วง 29 มี.ค.-4 เม.ย. 2564
พื้นที่เสี่ยงสูงสุด โดยพบ 3 จังหวัดมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดไฟป่า ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดน่าน และจังหวัดตาก ตามลำดับ ซึ่งเป็น 3 พื้นที่เสี่ยงสูงสุดติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 แล้ว ส่วนอีก 14 จังหวัดที่เหลือยังคงมีพื้นที่เสี่ยงกระจายอยู่โดยรอบ เนื่องจากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น และสภาพพื้นผิวแห้งแล้งอาจจะทำให้เกิดประกายไฟได้ง่าย โดยพื้นที่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เครดิตภาพ :
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////