Douglas Latchford เป็นที่รุ้จักกันดีในฐานะนักสะสมโบราณวัตถุของกัมพูชา ประวัติความเป็นนักสะสมของเขาถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ The New York Times ว่าเขาเป็นแหล่งสะสมประติมากรรมเขมรและอัญมณีเขมรระดับพิพิธภัณฑ์ และเขาได้รับรางวัล Grand Cross of the Royal Order of Monisaraphon จากรัฐบาลกัมพูชา ในปี 2008 และยังเข้าร่วมเขียนหนังสือกับนักวิชาการเขมร Emma Bunker เกี่ยวกับวัตถุโบราณเขมรถึง 3 เล่ม
แต่แล้ว Latchford ถูกศาลใน New York ฟ้องร้องด้วยข้อหาฉ้อโกง ค้าของเถื่อน และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่มีการวางระบบการปล้น การปลอมแปลงและขุดค้นวัตถุโบราณอย่างผิดกฏหมาย และยังสมรู้ร่วมคิดกับอัยการสหรัฐ
ในเอกสารของศาลระบุว่า Latchford มีการขุดวัตถุโบราณในนครวัตร ซึ่งสถานที่นี้เป็นหน่วยงานสำคัญของโลกเกี่ยวกับงานศิลปะของเขมร โดย Latchford ทำงานเหมือนเป็น “ท่อร้อยสาย” สำหรับสมบัติที่ถูกขโมยไปเมื่อปี 1970
การเสียชีวิตของ Latchford เมื่อปี 2020 ด้วยวัย 88 ปี ทำให้มีการตัดสินใจอย่างง่ายดายของลูกสาวของเขาที่ชื่อ นางนวพันธ์ เกรียงศักดิ์ ที่จะคืนวัตถุโบราณทุกชิ้นให้กับกัมพูชาไป โดยไม่มีเงื่อนไข ถึงแม้ว่าคดีความยังไม่มีการไต่สวนเพิ่มเติมใด ๆ เนื่องจากพ่อของเขาเสียชีวิตลง
นางนวพันธ์ บอกว่าสมบัติที่เธอได้รับจากพ่อของเธอ ส่วนใหญ่เป็นงานรูปปั้นแกะสลัก ที่มีทั้งหมดกว่า 100 คอลเลคชั่น และทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมของกัมพูชา
การตัดสินใจคืนวัตถุโบราณทุกชิ้นให้กับกัมพูชาในครั้งนี้ สร้างความประหลาดใจให้กับหลายฝ่าย โดยเฉพาะกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ของกัมพูชา โดย Phoeurng Sackona บอกว่าเขารู้สึกประหลาดใจอย่างมากกับการตัดสินใจนี้ และกล่าวอีกว่า “วัฒนธรรมของเราและรูปปั้นของเราไม่ใช่แต่ไม้และดินเท่านั้น แต่มันมีวิญญาณและประสาทสัมผัส และวัตถุเหล่านี้ก็คงอยากกลับประเทศ”
การเจรจาส่งคืนวัตถุโบราณล้ำค่าของกัมพูชา ที่มีผู้ช่วยเจรจาอย่าง Bradley J. Gordon ที่ปรึกษากฏหมายของรัฐบาลกัมพูชา ที่ระบุว่า การส่งคืนจะส่งเป็นชุด และจะได้รับ 5 ชุดแรกก่อนในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
กล่าวได้ว่า มีการปล้นวัตถุโบราณกันอย่างกว้างขวางที่ผ่านมา ตลาดวัตถุโบราณเขมรมักเป็นที่ถูกจับตามอง แต่สิ่งเหล่านี้ได้เคยถูกละเลยจากรัฐบาลเขมร ผลมาจากความวุ่นวายทางการเมืองก่อนหน้านี้ สังคมและการเมืองเป็นตัวทำลายกัมพูชาและครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 การรุกรานและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี 1970 ของกลุ่มเขมรแดงความป่าเถื่อนของนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น นายพลพต ที่พวกเขาไม่ได้สนใจการปกป้องมรดกวัฒนธรรมเหล่านี้เลย
จากการถูกละเลยเหล่านี้ Looters หรือการฉกฉวยโจรกรรมแบบถูกกฏหมายก็เกิดขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จากการไม่เสถียรทางการเมืองการปกครองในตอนนั้น รูปปั้นและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมถูกส่งข้ามฝั่งมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งที่มีจากวัดและแหล่งโบราณคดี และจะถูกส่งต่อไปยังตลาดศิลปะนานาชาติ
มีการระบุเพิ่มเติมถึง Red List หรือรายชื่อวัตถุโบราณกัมพูชาที่ขณะนี้ตกอยู่ในความเสี่ยง และถูกทำขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการซื้อขายวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างผิดกฏหมายในตลาดศิลปะ มีการแจ้งเตือนถึงสินค้าที่อยู่ใน Red List ขณะนี้ว่ายังมีวัตถุจำนวนมากที่เสี่ยงกับการซื้อขายในตลาดตอนนี้
การยืนยันของ Latchford ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตถึงวัตถุโบราณภายใต้การครอบครองของเขา ว่าชิ้นส่วนที่พบเจอส่วนใหญ่มักถูกขุดพบจากชาวนาในทุ่งนา โดยนางนวพันธ์บอกกับ CNN ว่า “พ่อของฉันซื้อสิ่งประดิษฐ์ของเขมรเหล่านี้จากโรงประมูลนักสะสม และตัวแทนจำหน่ายจากทั่วโลก”
แม้จะมีความสงสัยที่มากขึ้นเกี่ยวกับกิจกรรมของ Latchford นางนวพันธ์จะยังคงยืนยันที่จะคืนโบราณวัตถุทั้งหมดให้แก่กัมพูชา รวมถึงการแบ่งปันบันทึกให้กับกัมพูชาเกี่ยวกับงานของนักโบราณคดีและนักวิจัยของกระทรวงวัฒนธรรม
Credit by :