การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมหลายด้านของมนุษย์ถูกเปลี่ยนไป และเป็นสิ่งที่บอกได้ยากมากกว่าการเชื่อมโยงระหว่างชีวิตและความตายของมนุษย์กับพฤติกรรมจะเป็นเช่นไร
พวกเรามักคุ้นเคยกับคำว่า “ความปลอดภัยในโรคไซเบอร์” หรือ “ความมั่นคงแห่งชาติ” แต่ถ้าเป็นคำว่า “ความปลอดภัยแบบ Epsitemic” ที่ในขณะเดียวกันการต่อสู้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ความดิ้นรนในการการจัดการกับวิกฤตในขณะที่กำลังสูญเสียสังคมไป มันจะเป็นอย่างไร
Epsitemic หรือ Epsitemology คือ ญาณวิทยา ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ทฤษฎีว่าด้วยการนำความรู้มาอธิบายตามความจริง ให้รู้ถึงสาเหตุในการเกิดเรื่องนั้น ๆ โดยการใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการตอบคำถามและหาความหมายที่เกี่ยวกับความรู้ต่าง ๆ โดยเน้นย้ำว่าเรารู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้อย่างไร
การเอาชนะไวรัสโคโรนาด้วยวัคซีนในตอนนี้ที่หลายประเทศที่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยไม่กี่แห่ง ที่เลือกการฉีดวัคซีนเป็นแนวทางในการป้องกันไวรัส แต่ในเชิงลึก ยังมีความลังเลใจไม่ใช่น้อยในการเลือกใช้วิธีนี้ หากมองไปถึงการพิจารณาการตอบสนองของสาธารณะชนต่อการเปิดตัววัคซีน เพื่อเอาชนะไวรัส พวกเขาต้องเห็นด้วยกับการเลือกใช้วิธีนี้ หากมีการพิจารณาและมีแนวโน้มที่มีการไม่เห็นด้วย จะทำให้เกิดผลกระทบในทันที
มีการสร้างความจูงใจด้วยความมั่นใจจากนักการเมืองหรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการชักชวนให้ประชาชนได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมชุมชน เช่น การรณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่เลือกที่จะไม่ปฏิบัติ และตอนนี้มีการให้ข้อมูลเท็จในการรับการฉีดวัคซีน ให้รู้สึกว่าวัคซีนไม่ได้ช่วยให้เห็นผล หรือ การปกปิดใบหน้าไม่ได้ทำให้ปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ทำให้การปรับพฤติกรรมหรือการให้ความรู้เป็นไปด้วยความยากลำบาก
การเผชิญกับความยากลำบากในศตวรรษที่ 21 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นลางร้ายสำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตในเรื่องอื่น ๆ ปัจจัยด้านสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ หรือแม้กระทั่งการระบาดขึ้นอีกในอนาคต การยอมรับและการเผชิญความจริงจะเริ่มมีความยากขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงแม้ว่าในตอนนี้ ความชัดเจนในการดูแลโลกใบนี้มีความชัดเจนมากขึ้นทุกคนเริ่มมีความรอบรู้ แต่ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศที่กำลังทลายลง ทำให้เป็นความกังวลที่ัยังไม่สามารถวางใจได้ การกระจายข้อมูลที่ทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการให้ข้อมูลเท็จ หรือข้อมูลที่ไม่เป็นจริงหรือบิดเบือนข้อมูล ในเรื่องของการแพร่ระบาด การบิดเบือนจำนวนผู้ติดเชื้อ หรือการไม่แจ้งระดับการแพร่ระบาดที่เป็นจริง ล้วนแล้วแต่เป็นภัยคุกคามทั้งสิ้น
การไว้วางใจในมนุษย์ หรือเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีจิตใต้สำนึก ในการค้นหาสัญญาณความซื่อสัตย์ในรูปแบบเสียงพูดและภาษากาย หากมนุษย์เรามีความเชื่อมั่น และมีการเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกมากขึ้น เราจะเลิกฟังคนที่เข้ามารบกวนจิตใจ หรือคนโกหก แต่มนุษย์จะเริ่มหาเหตุผลความจริง และสามารถตอบโต้ทุกสิ่งที่กระทบได้อย่างถูกต้อง
Credit by :
https://www.bbc.com/future/article/20210209-the-greatest-security-threat-of-the-post-truth-age