วัคซีนโคโรนาแวค ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้รับวัคซีนโควิด-19 ภายใต้ชื่อ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) ของบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ผู้ผลิตชีวเภสัชภัณฑ์จีน จากการทดลองจากมหาวิทยาลัยในประเทศตรุกี พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้งกันโรคได้ดี
ป้องกันโรคที่ดีมาก ด้าน นายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงวัคซีน ซิโนแวก ที่กำลังฉีดในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ว่า วัคซีนดังกล่าวนี้ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพถึง 83.5% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์การป้องกันโรคที่ดีมาก
อาการข้างเคียง พร้อมกับกล่าวต่อว่า ข้อมูลจากเอกสารกำกับยาของวัคซีน ซิโนแวก ที่ส่งมาที่สำนักงานอาหารและยา (อย.) ระบุ หากพบอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 1 หากได้รับการฉีดเข็มที่ 2 อาการต่าง ๆ อาจจะพบน้อย หรือไม่พบเลย เช่น อาการไข้, ปวด, บวม, แดง ขณะที่อาการปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนล้า อาจจะยังพบได้ในเข็มที่ 2 ดังนั้นอาการข้างเคียงต่าง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ หรือ 1 ใน 3 ของการฉีดวัคซีนอยู่แล้ว
ผลการทดลอง ในเวลาต่อมา มีผลการทดลองจากมหาวิทยาลัยในประเทศตุรกี โดย เซอร์ฮัต อูนัล อาจารย์คณะโรคติดต่อและจุลชีววิทยาทางคลินิกแห่งมหาวิทยาลัยฮาเซตเตเป ยังระบุอีกด้วยว่า การทดลองที่เริ่มขึ้นในช่วงกลางเดือนกันยายน มีประชาชนอายุ 18-59 ปี เข้าร่วมทั้งหมด 10,216 คน โดยได้ยาหลอกจำนวน 3,568 คน
อาสาสมัครกลุ่มรับวัคซีน ทางด้าน มูรัต อะโควา แพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาเซตเตเป เผยว่า มีอาสาสมัครกลุ่มรับยาหลอก 32 คน และอาสาสมัครกลุ่มรับวัคซีนจริง 9 คน ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเวลาอย่างน้อย 14 วัน หลังรับวัคซีนโดส 2 เพื่อพิจารณาจากสัดส่วนนี้ พบว่าวัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคที่แสดงอาการป่วยได้ 83.5% อีกทั้งวัคซีนสามารถป้องกันการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ถึง 100% และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตระหว่างเข้าร่วมการทดลอง
ฉีดวัคซีนโควิด-19 และตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตุรกีดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยใช้วัคซีนของซิโนแวค โดยมุ่งฉีดให้ได้ 60% ของประชาการทั้งหมดในประเทศ และภายในสัปดาห์แรกของการฉีดวัคซีน มีชาวตุรกีได้รับวัคซีนโดสแรกไปแล้วมากกว่า 1 ล้านคน
นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขของตุรกี ยังระบุอีกว่า ในปัจจุบันมีประชาการที่ได้รับวัคซีน อย่างน้อยหนึ่งโดสแล้ว จำนวนมากกว่า 7.2 ล้านคน และจะได้รับวัคซีนสองโดสแล้วประมาณ 2.1 ล้านคน
คลายล็อค ทางด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thira Woratanarat โดยในใจความส่วนหนึ่งระบุว่า ตอนนี้บางประเทศเริ่มเห็นความเข้าใจผิด คิดว่ามีวัคซีนเข้ามาเริ่มฉีดในประเทศแล้วเร่งคลายล็อคการใช้ชีวิต เห็นชัดเจนคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลายรัฐที่ผู้ว่าการรัฐพยายามออกมาประกาศว่า จะให้รัฐเปิดเต็มที่ตั้งแต่สัปดาห์หน้า เช่น เท็กซัส และ มิสซิสซิปปี จนต้องมีคำทักท้วงจากประธานาธิบดี และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ออกมาเตือนว่า ไม่ควรผ่อนคลายเร็วเกินไป เพราะจะเกิดหายนะระบาดซ้ำตามมาอย่างแน่นอน
ควรพิจารณาสรรพคุณ ย้ำอีกครั้งว่าการเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโรคนั้น เป็นสิทธิของประชาชนอย่างเราทุกคน ที่จะตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับ และควรพิจารณาสรรพคุณ 3 อย่างหลัก ได้แก่ สรรพคุณป้องกันการติดเชื้อ, สรรพคุณป้องกันอาการป่วย และ สรรพคุณลดความรุนแรงหรือการเสียชีวิต โดยวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันมีหลายชนิด และมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไป
ความปลอดภัย รวมถึงควรพิจารณาข้อมูลเรื่องความปลอดภัย โดยดูจากรายงานการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ ซึ่งจะสามารถเห็นข้อดีหรือข้อจำกัดได้ดีกว่า และต้องตระหนักเสมอว่า มีวัคซีนไม่กี่ตัวที่ได้รับการวิจัยพิสูจน์ว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เช่น Pfizer/Biontech, Moderna, Johnson&Johnson แต่ก็ป้องกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ อยู่กันห่างๆ ลดละเลี่ยงการตะลอนพบปะสังสรรค์ หรือไปในที่ที่แออัด ยังคงต้องปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง
เครดิตภาพ : เฟซบุ๊กThira Woratanarat, www.xinhuathai.com, ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////