1.ศบค.แถลงพบผู้ติดเชื้อโควิต 19 วันนี้
ศบค. รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด19รายใหม่ใน
ประเทศไทยในวันที่ 13 มกราคม 2564 ดังนี้
-ผู้ป่วยรายใหม่ 157 ราย
-ผู้ป่วยยืนยันสะสม 10,992 ราย
-หายป่วยแล้ว 6,943 ราย
-เสียชีวิตสะสม 67 ราย
2.กรุงเทพมหานคร พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 157 ราย อายุน้อยสุด 9 เดือน
ศบค.โควิด เปิดตัวเลขติดเชื้อกทม. วันนี้ พบรายใหม่ลดลงเหลือ 24 ราย ติดในประเทศ จากพื้นที่เสี่ยง อาชีพเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วย อายุน้อยสุด เป็นเพศชาย 9 เดือน รวมยอดสะสม 512 ราย วันที่ 13 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) พบมีผู้ติดเชื้อใหม่ 24 รายเป็นการติดเชื้อภายในประเทศจากการไปพื้นที่เสี่ยงมีอาชีพเสี่ยง หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยผู้ติดเชื่อทั้งหมดประกอบด้วย เพศชาย 12 ราย อายุ 9 เดือน – 69 ปี เพศหญิง 12 ราย อายุ 27-79 ปี สัญชาติไทย 22 ราย ญี่ปุ่น 1 ราย และเมียนมาร์ 1 ราย มีอาการป่วย 17ราย ไม่มีอาการ7 รายรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนในกทม. 18 ราย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 2 ราย, โรงพยาบาลศิริราช 2 ราย, โรงพยาบาสมเด็จพระปิ่นเกล้า 1 ราย และรอประสานงาน 1 รายทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสมในพื้นกทม. (15 ธ.ค. 2563 -13 ม.ค. 2564) รวมแล้ว 512 ราย อยู่อันดับ 4 ของประเทศมาจากจังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี และระยอง
3.เชียงใหม่ ติดโควิดเพิ่ม 2 ราย สั่งขยายเวลาปิดสถานบันเทิงถึง 31 ม.ค. 64
ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้ (12 มดราคม 2564) พบผู้ป่วยโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มอีก 2 ราย เป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยรายที่ 65 ที่มีการรายงานไปเมื่อวานนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
-ผู้ป่วยโควิด-19 รายที่ 68 ของจังหวัดเชียงใหม่ หญิงไทยอายุ 50 ปี แม่บ้าน ภูมิลำเนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
รับรักษาตัวห้องแยกความดันลบโรงพยาบาลนครพิงค์เบื้องต้น ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า เริ่มมีอาการป่วยเล็กน้อย
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 แต่ไม่มีประวัติเสียงสัมผัส จึงไม่ได้ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 และชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ตั้งแต่เริ่มป่วยพักรักษาตัวที่บ้าน
-ผู้ป่วยโควิด-19 รายที่ 69 เป็นชายชาวไต้หวัน อายุ67 ปี ประกอบธุรกิจส่วนตัว ภูมิลำเนา อ.เมืองจ.เชียงใหม่ รับรักษาตัวห้องแยกความดันลบโรงพยาบาลนครพิงค์ อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค จากการสอบสวนโรคพบว่า ครอบครัวนี้มีกิจกรรมร่วมกัน ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 63 ขณะนี้ทางทีมสอบสวนโรคกำลังดำเนินการติดตามผู้สัมผัส และเร่งสอบสวนสรุปไทม์ไลน์ พร้อมทั้งค้นหาต้นตอของการติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 3 รายนี้ หากได้ข้อสรุปจะได้นำเสนอต่อไป
4.วัคซีนโควิด-19 จีนมาแรง ไทยจองซื้อ 2 บริษัท 63 ล้านโดส
ทันทีที่มีข่าววัคซีนโควิด-19 จะทำให้คนไทยเข้าถึงในเดือนมีนาคม 2564 ท่ามกลางขั้นตอนและกระบวนการ การได้มาซึ่งวัคซีนที่ต้องเป็นแบบ “รัฐต่อรัฐ” เท่านั้น อีกทั้งบริษัทยายักษ์ใหญ่ที่ต้องการขายวัคซีนให้กับไทย จะต้อง “ขึ้นทะเบียน” จากองค์การอาหารและยา (อย.) เท่านั้น ข้อมูลล่าสุด บริษัทที่ขอขึ้นทะเบียนกับ อย.มี 2 บริษัทได้แก่ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย)จำกัด และวัคซีนของ บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค โดยมีองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้รับอนุญาตในการขึ้นทะเบียน นี่จึงเป็นเหตุให้วัคซีนภายใต้ชื่อ “ซิโนแวค” ที่มีสัญชาติจีน เข้าถึงคนไทยก่อนเป็นลำดับต้น
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5มกราคม2564 มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการจัดหาเป้าหมายปี 2564 จำนวน 33,000,000 คน คิดเป็นร้อยละ 50ของประชากรทั้งประเทศ ประกอบด้วย
แหล่งที่ 1 ระยะเร่งด่วน จัดหาวัคซีนจากบริษัท Sinovac Biotech จำกัด ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนขอประเทศจีนเพื่อจัดหาวัคซีนเร่งด่วนให้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2564 จำนวน 2,000,000โดส วงเงิน 1,228,208,000 บาท
แหล่งที่ 2 การจัดหาวัคซีนจากการตกลงแบบทวิภาคี จำนวน 26,000,000 โดส โดยคาดว่าจะได้รับวัคซีนประมาณเดือนมิถุนายน 2564 อย่างไรก็ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อให้ได้วัคซีนมาก่อนจำนวนหนึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ทั้งนี้ที่ประชุม ครม.ยังมีมติให้พิจารณาสั่งซื้อเพิ่มอีกจำนวน 35,000,000 โดส รวมเป็นจำนวนวัคซีนที่ประเทศไทยจัดหาจำนวน 61,000,000 โดส
แหล่งที่ 3 การจัดหาวัคซีนจาก COVAX Facility ร้อยละ 20 ทั้งนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขและการต่อรอง
2 ล้านโดสแรก ฉีดครบ 2 เข็ม 8 แสนคน
ขณะนี้การจัดหาวัคซีนระยะเร่งด่วน 2,000,000 โดสจากบริษัท Sinovac Biotech กำหนดเป้าหมายฉีดวัคซีน 2,000,000 โดส ภายใน 3 เดือนแรกหลังจากได้รับวัคซีน(เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน64)ซึ่งสามารถฉีดให้คนไทยได้ครบทั้ง2 เข็ม โดยแต่ละเข็มจะห่างกัน 1 เดือน จำนวน 800,000 คน แบ่งออกเป็น
“ลอตแรก” วัคซีนเข็มแรก 200,000 โดส 200,000 คนในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ประกอบด้วย 1.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุขด่านหน้า รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุดเช่น จ.สมุทรสาคร จ.ระยอง จ.ชลบุรี จำนวน 20,000คน 2.กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 180,000 คน
“ลอตสอง” วัคซี่น 800,000 โดส ซ้ำเข็มสอง200,000 คน ฉีดเข็มแรก 600,000 คนในเดือนมีนาคม2564 ประกอบด้วย 1.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุขด่านหน้า รวมถึง อสม. เจ้าหน้าที่ทำงานภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เช่น จ.สมุทรสาครจ.ระยอง จ.ชลบุรี กลุ่มเสียงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ (เข็มที่สอง)จำนวน 200,000 โดส 2.กลุ่มจังหวัดควบคุมสูงสุด ชายแดนตะวันตกและภาคใต้ เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า รวมถึง อสม. จำนวน60,000 คน และในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมีภาวะแทรกซ้อนสูงและกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 540,000 คน รวมจำนวน 600,000 โดส (เข็มแรก)
“ลอตสาม” วัคซีน 1,000,000 โดส ซ้ำเข็มสอง600,000 คน สำรองฉุกเฉิน 400,000 โดสในเดือนเมษายน 2564 ประกอบด้วย 1.จังหวักควบคุมชายแดนสูงสุด ชายแดนตะวันตกและภาคใต้ เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า รวมถึง อสม.และในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมีภาวะแทรกซ้อนสูงและกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ (เข็มที่สอง) จำนวน 600,000 คน และสำหรับกรณีที่มีการระบาด จำนวน 400,000 โดส