เศรษกิจตลาดอาหารทะเลไทยอ่วม
วันที่ 26 ธันวาคม 2563 โควิด 19 ที่เริ่มระบาดจากตลาดกลางกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร
ได้ทำลายเละเศรษกิจตลาดทะเลไทย-แม่กลองอ่วม การปิดตลาดทำให้เสียหายไปแล้วเกือบ 1,000 ล้านบาท เดือดร้อนส่งปลาขึ้นท่าลำบากอย่างหนัก เหตุสะพานปลาหลักของประเทศถูกปิด เร่งป้องกันโควิดแพร่ในหมู่เรือประมง เจ้าพ่อธุรกิจอาหารทะเล “ทียู”ออกมาตราการตรวจโควิด 19 ให้กับพนักงานในโรงงานมากกว่า 20,000 คน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในตลาดกุ้งทะเลไทย โดยมีตัวเลขแรงงานเมียนมาติดเชื้อทะลุ 1,000 คนในช่วงเวลาแค่ 3 วัน ได้ส่งผลกระทบต่อการค้าสัตว์น้ำอย่างหนัก จากการปิดตลาดทะเลไทย ตลาดปลาสมุทรสาคร ตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลองไปจนกระทั่งถึงหลังปีใหม่ ในขณะที่องค์การสะพานปลาก็ประกาศปิดสะพานปลาสมุทรสาครกับสะพานปลาสมุทรปราการ หลังจากพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทำให้การขนส่งสินค้าสัตว์น้ำสะดุด

ปิด 2 ตลาดไป คำนวณค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ปัจจุบันสมุทรสาครมีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย 233,071 คนรวม 6,082 โรงงาน มีเพียงผลกระทบจากการปิดตลาดทะเลไทย สร้างความเสียหาย
วันละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท แต่การปิดตลาดค้าสัตว์น้ำจะส่งผลกระทบไปถึงห่วงโซ่ธุรกิจ
ที่เกี่ยวเนื่องทั้งชาวประมง 22 จังหวัดชายทะเลที่ปกตินำสินค้าสัตว์น้ำทั้งหมดมาส่งที่ตลาดทะเลไทย หลังการประกาศปิดตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลองซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวชาวพม่า 1,200 คน การปิดตลาดแม่กลองจะก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท/วันเช่นกัน รวม 2 ตลาดที่ปิดไปแล้วน่าจะมีความเสียหายเกือบ 1,000 ล้านบาท
ชาวประมงลำบากหนัก
สมาคมชาวประมงนครศรีธรรมราช ได้ทำหนังสือถึงจังหวัดขอให้ช่วยเหลือความเสียหายจากการขายสัตว์น้ำไม่ได้ ไปจนถึงการทำแผนช่วยเหลือชาวประมงที่อาจจะต้องหยุดทำการประมงในอนาคต ด้านสมาคมการประมงแสมสาร,กระบี่,ตราดได้แจ้งให้ผู้ประกอบการ
ที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงทำการคัดกรองแรงงาน หากเกิดกรณีที่จังหวัดสมุทรสาครประกาศล็อกดาวน์ขอให้ท่าเทียบเรือทุกท่างดการรับแจ้งเรือเข้า-ออกจากเรือประมง
ที่มาจากสมุทรสาคร ส่วนนายจ้างที่มีการรับแรงงานต่างด้าวจากสมุทรสาครต้องทำการแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อเข้ารับการคัดกรองก่อนที่จะมีการเริ่มงานทันที สมาคมประมงระยองร่วมกับโรงพยาบาลระยองได้ตกลงร่วมกันที่จะมีการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาตรวจเชื้อไวรัสโควิด 19 เพื่อยับยั้งการระบาดของโรคและทำให้ระยองปลอดจากโควิด 19 ให้เป็นศูนย์ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยมีความกังวลเกี่ยวกับการปิดสะพานปลาที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากเรือประมงไม่สามารถส่งปลาขึ้นที่ท่าเทียบเรือได้ ส่วนอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ให้คลี่คลายภายใน 7 – 14 วัน “ถือว่าไม่น่าห่วง” แต่หากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและกระจายออกไปยังจังหวัดอื่นๆ วงกว้าง เบื้องต้นคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 1,500 – 2,000 ล้านบาทต่อวัน หรือ 50,000 – 60,000 ล้านบาทต่อเดือน

ผลกระทบต่อราคากุ้งและความเสี่ยงกุ้งล้นตลาด
ปัญหาโควิดที่แพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้ความต้องการนำเข้ากุ้งมีปริมาณลดลง
100,000 – 300,000 ตัน ทำให้ลดการสั่งซื๊อกุ้งเลงเป็นจำนวนมากและยังส่งผลให้ราคากุ้งตกลงวูบอย่างน่ากังวล ซึ่งทุกหน่วยงานต้องร่วมกันเชื่อมโยงหาตลาดจำหน่ายผลผลิต
ส่งผลให้ราคากุ้งแต่ละไซซ์มีราคาตกลงถึง กิโลกรัมละ 40 – 50 บาท แต่ยังเชื่อว่าจะทำให้
ผู้เลี้ยงกุ้งสามารถมีที่ระบายสินค้าออกไปได้ อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ขอให้ชาวประมง
ชะลอการจับกุ้งลง โดยคาดว่าจะมีกุ้งส่วนเกินอยู่ประมาณ 100 ตัน และมีปริมาณกุ้งที่ต้องบริหารจัดการทั้งหมด 500 – 600 ตัน ซึ่งกรมจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาพื้นที่ตลาดกลางเชื่อมโยงกุ้งและสัตว์น้ำรวมถึงตลาดในห้างสรรพสินค้า, ภัตตาคาร และร้านอาหารด้วย
